slide 1
slide 1
Image Slide 2
Image Slide 2
previous arrowprevious arrow
next arrownext arrow
Homeสกู๊ปพิเศษรายงานพิเศษ3 จุดเปลี่ยน “GR Corolla Liquid H2” รถแข่งทีม Rookie Racing 2024

3 จุดเปลี่ยน “GR Corolla Liquid H2” รถแข่งทีม Rookie Racing 2024

หากกล่าวถึง GR Corolla H2 Concept หลายคนอาจจะเคยเห็นผ่านตามาบ้างในการแข่งขัน Idemitsu Super Endurance Southeast Asia Trophy เคยเข้าร่วมโชว์ตัวและแข่งขันในรายการดังกล่าวที่ สนามช้าง อินเตอร์ เนชั่นแนลเซอร์กิต จ.บุรีรัมย์ 

วันนี้นับเป็นการวิวัฒนาการไปอีกขั้นของที่เดิมทีใช้เชื้อเพลิงเป็น “ก๊าซไฮโดรเจน” เปลี่ยนไปสู่ “ไฮโดรเจนเหลว” หรือที่เรียกว่า GR Corolla Liquid H2 Concept ซึ่งมีจุดเปลี่ยนที่พัฒนาขึ้นเพื่อลดข้อจำกัดและเพิ่มประสิทธิภาพของรถแข่งที่ใช้ในการแข่งขัน จึงต้องมีการพัฒนาชิ้นส่วนสำคัญรองรับการเปลี่ยนแปลงใน 3 จุดหลัก

Autolifethailand ได้พูดคุยกับ นาโออะกิ อิโต (Naoaki Ito) ผู้อำนวยการโครงการ แผนกพัฒนารถ GR เล่าให้ฟังว่า การเปลี่ยนการใช้งานจาก ก๊าซไฮโดรเจน ไปสู่ ไฮโดรเจนเหลว ทำให้แรงดันในถังลดลงส่งผลให้สามารถเปลี่ยนรูปทรงของถังบรรจุเชื้อเพลิงจาก ทรงกลมแบบสมมาตร เป็น ทรงกลมวงรี ได้ ซึ่งทำให้ปริมาณบรรจุเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า และมีผลทำให้ระยะทางวิ่งไกลมากกว่า 2 เท่า นอกจากนั้น การใช้ถังเชื้อเพลิง ทรงวงรี ยังทำให้พื้นที่ภายในห้องโดยสารเพิ่มขึ้นอีกด้วย

GR Corolla
นาโออะกิ อิโต (Naoaki Ito) ผู้อำนวยการโครงการ แผนกพัฒนารถ GR

“หากเป็นเชื้อเพลิงก๊าซไฮโดรเจนต้องเป็นถังเชื้อเพลิงทรงกระบอกเพื่อกระจายแรงดันให้ทั่วถึงเท่ากันในถังเชื้อเพลิง ในขณะที่ไฮโดรเจนเหลวมีแรงดันน้อยกว่าก๊าซไฮโดรเจน สามารถใช้ถังเชื้อเพลิงทรงต่างจากเดิมได้”

ทั้งนี้ ยังได้มีการพัฒนา ปั้มแรงดันเชื้อเพลิง เพื่ออัดความดัน ไฮโดรเจนเหลว ที่เพิ่มขึ้นเพื่อส่งไปให้เครื่องยนต์ และเพิ่มความคงทนให้สามารถแข่งขันได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่ต้องเปลี่ยนชิ้นส่วน โดยจากการเก็บข้อมูลการแข่งขันในปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนปั้มแรงดัน 2 ครั้ง

สำหรับ รถแข่งคันนี้ใช้เครื่องยนต์ไฮโดรเจน โดยมีการส่งกำลังด้วยการเผาไหม้ไฮโดรเจนใช้เป็นเชื้อเพลิงซึ่งถูกอัดเข้าห้องเครื่องยนต์โดยตรง ซึ่ง ปั้มแรงดันเชื้อเพลิง จะอัดอากาศด้วยการให้แรงอัดแบบหมุนไปกลับของลูกสูบ (หรือระบบแรงอัดแบบหมุนไปกลับ) ส่งไฮโดรเจนจากถังเก็บเชื้อเพลิงไปยังเครื่องยนต์ ซึ่งจะเกิดแรงอัดแบบหมุนไปกลับของลูกสูบ ทำให้ตลับลูกปูน(ชิ้นส่วนที่จะทำให้เพลาหมุนได้อย่างคล่องตัว) รวมถึงเกียร์ (เฟือง) ต้องรับแรงมหาศาล เป็นเหตุให้เกิดการสึกกร่อนหรือเสื่อมสภาพได้ง่าย

GR Corolla

ดังนั้น จึงได้พัฒนาโครงสร้างของข้อเหวี่ยงเป็นแบบ Dual-Drive ทำให้สามารถส่งแรงบิดจากข้อเหวี่ยงทั้งสองด้านเข้าสู่มอเตอร์ได้ ทำให้การหมุนไปกลับของลูกสูบสร้างแรงอัดได้อย่างสมดุลดี ส่งผลให้ปั้มมีความทนทานเพิ่มมากขึ้น

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : Akio Toyoda (MORIZO) บินมาไทย แข่งขัน Endurance Race 10 ชั่วโมง นำทัพโดย Toyota PRIUS ! Carbon Neutrality

สุดท้าย ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการดูดอากาศ เพื่อกู้คืนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่มีอยู่ในอากาศ ด้วยกการประยุกต์ใช้ “จุดเด่นในการดูดอากาศได้จำนวนมาก” และ “ความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้” ที่มีในเครื่องยนต์สันดาปภายใน ซึ่งได้ติดตั้งอุปกรณ์ดูดซับ CO2 เข้าที่จุดดูดอากาศของแอร์คลีนเนอร์ พร้อมกับติดตั้งอุปกรณ์แยก CO2 ที่เกิดขึ้นจากความร้อนของน้ำมันเครื่องเข้าที่ด้านข้างของอุปกรณ์ดังกล่าว เพื่อกู้คืน CO2 ที่แยกตัวออกมาเก็บไว้ในถังขนาดเล็กที่เต็มไปด้วยน้ำยาดูดซับและได้ติดตั้งระบบสลับเปลี่ยนการดูดซับโนมัติสำหรับการเปลี่ยนโปรเซสการดูดจากเดิมเป็นแมนนวล

สำหรับ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชัน (โตโยต้า) ได้ส่ง GR Corolla Liquid H2 ให้ทีม Rookie Racing Team ร่วมแข่งขันในรายการ Fuji SUPER TEC 24 ชั่วโมงสนามที่สองของซีรีส์ ENEOS Super Taikyu Series 2024 Empowered by BRIDGESTONE ซึ่ง โตโยต้า มุ่งมั่นที่จะพัฒนายานยนต์และคนขับผ่านสภาพแวดล้อมที่ยากลำบากในสนามแข่งมอเตอร์สปอร์ต และสร้างวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องไปพร้อมกับมิตรในวงการเพื่อทำให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอนได้จริง

- Advertisement -spot_img
Mitsubishi Mega Deal
Mitsubishi Mega Deal
ออล-นิว มิตซูบิชิ ไทรทัน แบล็ก เอดิชัน
land rover
previous arrow
next arrow
- Advertisement -spot_img
- Advertisement -spot_img

Stay Connected

400,000FansLike
6,955FollowersFollow
153,000FollowersFollow
319FollowersFollow
107,000SubscribersSubscribe

Must Read

Related News