slide 1
slide 1
Image Slide 2
Image Slide 2
previous arrowprevious arrow
next arrownext arrow
Homeสกู๊ปพิเศษรายงานพิเศษท่าทีของ Ford ต่อนโยบายรัฐหนุนไฮบริดและทิศทางธุรกิจในไทยจากนี้

ท่าทีของ Ford ต่อนโยบายรัฐหนุนไฮบริดและทิศทางธุรกิจในไทยจากนี้

ภายหลังคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ได้เห็นชอบ “มาตรการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า” โดยการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารขนาดที่นั่งไม่เกิน 10 คน แบบไฮบริด (HEV) ซึ่งเป็นเทคโนโลยียานยนต์ที่ผสมผสานทั้งระบบเครื่องยนต์สันดาปภายในและระบบไฟฟ้า ซึ่ง Autolifethailand ได้มีโอกาสพูดคุยกับ “รัฐการ จูตะเสน” กรรมการผู้จัดการ ฟอร์ด ประเทศไทย ถึงท่าทีของ Ford ที่มีต่อนโยบายดังกล่าว รวมถึงแนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของตลาด มีวิธีการรับมืออย่างไร

ก่อนอื่นต้องยอมรับเลยว่าตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูงมากในช่วงปี 2566 ที่ผ่านมา แต่เป็นการเติบโตอย่างมีนัยยะแฝง โดยเฉพาะการผลักดันยอดขายเพื่อให้ได้รับสิทธิ์ในมาตรการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า (EV 3.0) แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีอัตราที่เติบโตสูง แต่เมื่อดูสัดส่วนของรถยนต์ไฟฟ้ามีเพียงส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 10% ของตลาดรถยนต์รวม

แต่ตลาดรถยนต์พลังงานไฮบริด (HEV) เป็นตลาดที่น่าจับตา เนื่องจากมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 32% ของตลาดรถยนต์รวม ซึ่งเป็นตลาดใหญ่พอสมควร และเป็นส่วนช่วยสำคัญในการรับรู้เทคโนโลยีก่อนเปลี่ยนไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า 100%

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ฟอร์ด ชี้ตลาดรถปี’67 ต่ำสุดในรอบ 15 ปี ตัวเลขอาจร่วงแตะ 6 แสนคัน

Ford ย้ำต้องศึกษาอย่างละเอียดถึงความคุ้มค่าด้านการลงทุนเทคโนโลยี

สำหรับ ฟอร์ด เองนั้นเห็นด้วยต่อนโยบายดังกล่าวที่รัฐบาลมีการประกาศออกมา และในความเป็นจริง เทคโนโลยีของ Ford ทั่วโลกมีความหลากหลายทางด้านเครื่องยนต์ แต่การนำเสนอเทคโนโลยีหรือการทำตลาดในผลิตภัณฑ์ใด ๆ นั้น จะต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านการสนับสนุนของแต่ละประเทศ รวมถึงความต้องการของตลาดรถยนต์ในแต่ละประเทศ

ทั้งนี้ ฟอร์ด เป็นบริษัทระดับโลก (Global Company) จึงจะต้องมีการศึกษาอย่างละเอียดถึงความคุ้มค่าด้านการลงทุน รวมถึงโอกาสของตลาดในประเทศนั้น ๆ และตลาดในการส่งออก โดยการที่รัฐบาลออกมาตรการดังกล่าวมาถือเป็นการให้ความสมดุลต่อตลาด (บาลานซ์) ต่อเทคโนโลยีเครื่องยนต์สันดาปภายใน ซึ่งประเทศไทยถือเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก และปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตรถยนต์หลักที่อยู่ในประเทศไทยเป็นบริษัทที่ผลิตรถยนต์สันดาปภายในเป็นหลัก และมีการใช้ชิ้นส่วนในประเทศซึ่งมีการจ้างงานในระบบห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเชน) เป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทิศทางของโลกจะเป็นเทรนด์ของ เทคโนโลยีไฮบริด (HEV) เนื่องจากในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมาตลาดรถยนต์ไฟฟ้า100% (BEV) จะชะลอตัว อย่างในสหรัฐอเมริกาก็มีหลายแบรนด์ที่มองเห็นแทรนด์ดังกล่าวและกลับมาพัฒนาเทคโนโลยีไฮบริดต่อ ซึ่งแม้จะสร้างความน่าประหลาดใจให้กับหลายฝ่ายถึงแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยี แต่เทคโนโลยีไฮบริดจะเป็นฐานสำคัญให้ลูกค้าได้ปรับตัวอย่างแน่นอนแต่จะมากน้อยแค่ไหนก็ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัย ดังนั้นเองจึงเป็นโอกาสสำคัญของหลายแบรนด์ที่เอาเทคโนโลยีไฮบริดมาสู้กับรถยนต์ไฟฟ้าของแบรนด์จีน โดยชูเรื่องความเชื่อมั่นทางด้านเทคโนโลยีที่มีการพัฒนามาอย่างยาวนาน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ‘บอร์ดอีวี’ เคาะมาตรการลดภาษีรถ HEV คาดหนุนการลงทุน 5 หมื่นล้าน

โรงงาน ฟอร์ด ในประเทศไทยยังเป็นฐานสำคัญของโลกและมีตัวเลขที่ดี

ปัจจุบัน โรงงานฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง และ โรงงานออโต้ อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย เป็นฐานการผลิตสำคัญของ ฟอร์ด เอเวอร์เรสต์ (Ford Everest) และ ฟอร์ด เรนเจอร์ แร็พเตอร์ (Ford Ranger Raptor) ซึ่งบริษัทยังมีตัวเลขการส่งออกที่ดีอยู่ แม้ว่าอาจจะมีการลงลดของกำลังการผลิตด้วยการหยุดในบางวัน แต่เมื่อเทียบกับตัวเลขการส่งออกของตลาดรถยนต์ประเทศไทย บริษัทถือว่าลดลงน้อยมากอยู่

ฟอร์ด ประชุมผู้แทนจำหน่าย (ดีลเลอร์) แจงสถานการณ์การดำเนินธุรกิจในไทย

รัฐการ กล่าวว่า บริษัทแม่ของ ฟอร์ด ได้มองว่า อัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่ขยายตัวในระดับ 1% แม้ว่าตลาดรวมของอุตสาหกรรมรถยนต์ในภูมิภาคอาเซียนและจีดีพีของทุกประเทศจะลดลง แต่ประเทศไทยถือเป็นอัตราที่ตกต่ำที่สุดในภูมิภาคอาเซียน โดยในการประชุมผู้แทนจำหน่าย (ดีลเลอร์) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการชี้แจงถึงสถานการณ์ของบริษัทในช่วง 1-2 ปีนี้ จะอยู่ในสภาวะที่ทรงตัว ไม่มีผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ในปี 2569 (ค.ศ. 2026) เป็นต้นไป จะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถต่อสู้ได้กับคู่แข่งในตลาด และเป็นรถรุ่นใหม่และเทคโนโลยีใหม่ที่อยู่ในกลุ่มที่มีการแข่งขันแบบ White Ocean

“ด้วยเทคโนโลยีที่มีของ ฟอร์ด และมีโกลบอลโมเดล แพลตฟอร์ด ซึ่งสามารถเปลี่ยนมาเป็นพวงมาลัยขวาได้ นั่นเป็นสิ่งที่เราจะทำ เพราะถ้าเราจะลงไปสู้กับแบรนด์จีน อย่างไรเราก็สู้เรื่องต้นทุนไม่ได้อยู่แล้ว ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมองหาโอกาสใหม่ ๆ ของผลิตภัณฑ์”

ขณะที่ ในสภาวะของบริษัทในเวลานี้สิ่งที่เราต้องรักษาไว้คือ ผู้แทนจำหน่าย (ดีลเลอร์) และการให้บริการลูกค้า (Service) รวมถึงการวางแผนการกลับมาฟื้นตัวของตลาดและการเติบโตหลังจากนี้ที่จะดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งเรามองในอีก 3 ปีข้างหน้าและคำนวนจำนวนศูนย์บริการกับปริมาณยอดขายที่สอดคล้องกัน โดยปัจจุบันมีจำนวนศูนย์บริการอยู่ที่ 158 แห่ง จากต้นปีอยู่ที่ 169 แห่ง ซึ่งเรามองว่ายังเพียงพอกับความต้องการและแผนในอนาคตของบริษัท

อุตสาหกรรมยานยนต์และพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยในช่วง 1-2 ปีนี้ ถือได้ว่ามีความท้าทายอย่างมาก เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงสูงทั้งในแง่การใช้งานและการตัดสินใจซื้อ ประกอบการสถานการณ์ตลาดที่ชะลอตัวลง และอีกประเด็นหนึ่งคือการเปลี่ยนผ่านเจนเนอเรชั่นของการทำธุรกิจของผู้แทนจำหน่าย

ในวันนี้การขยายโชว์รูมอาจจะไม่จำเป็นต้องมีจำนวนเยอะมากอีกต่อไป แต่ที่จะต้องมีเลยคือศูนย์บริการ (Service) เพื่อดูแลรถยนต์ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ซึ่ง ฟอร์ด เองมีแผนที่จะขยายศูนย์ซ่อมสีและตัวถังเพิ่มขึ้นเป็น 46 แห่ง จากปัจจุบันมีจำนวน 40 แห่ง ภายในปีนี้ รวมถึงมีแผนการคุยกับพันธมิตรทางธุรกิจในพื้นที่ต่างจังหวัดในการทำให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นด้วยมาตรฐานเดียวกับฟอร์ด

คงจะต้องติดตามทิศทางนโยบายของ ฟอร์ด ที่ประกาศออกมาว่า หลังจากนี้จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าอยู่ในภาวะประคองตัวเพื่อไปสู่การกลับมาฟื้นตัวและเติบโตในอนาคต

- Advertisement -spot_img
ออล-นิว มิตซูบิชิ ไทรทัน แบล็ก เอดิชัน
ออล-นิว มิตซูบิชิ ไทรทัน แบล็ก เอดิชัน
ออล-นิว มิตซูบิชิ ไทรทัน แบล็ก เอดิชัน
ออล-นิว มิตซูบิชิ ไทรทัน แบล็ก เอดิชัน
previous arrow
next arrow

Stay Connected

330,000FansLike
6,955FollowersFollow
153,000FollowersFollow
319FollowersFollow
994,000SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Must Read

Related News