ฉางอัน ออโตโมบิล (CHANGAN Automobile) สรุปยอดขายรถยนต์ทั่วโลกในปี 2567 อยู่ที่ 2.683 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 5.1% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เป็นยอดขายที่สูงสุดในรอบ 7 ปี โดย ยอดขายรถยนต์พลังงานใหม่ (NEV) อยู่ที่ 734,516 คัน เพิ่มขึ้น 52.8% และยอดขายในต่างประเทศ อยู่ที่ 536,196 คัน เพิ่มขึ้น 49.6%
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ประสบความสำเร็จในปีที่ผ่านมาเป็นผลมาจากการดำเนินธุรกิจด้วยกลยุทธ์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า “Mission of Shangri-La” กลยุทธ์เพื่อการพัฒนาแบบอัจฉริยะ “Dubhe Plan” และกลยุทธ์การขยายธุรกิจทั่วโลก “Vast Ocean Plan” รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม พร้อมการสร้างแบรนด์ทั้ง 3 แบรนด์ ได้แก่ AVATR, DEEPAL และ ฉางอัน ที่มาพร้อม 3 รุ่นได้แก่ CHANGAN UNI, CHANGAN NEVO และ CHANGAN LCV สร้างกลุ่มผลิตภัณฑ์อันหลากหลาย เสริมศักยภาพการแข่งขันในระดับโลก
สำหรับ แบรนด์ AVATR ซึ่งวางตำแหน่งในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะระดับไฮเอนด์ ในปี 2567 มียอดขาย อยู่ที่ 73,606 คัน เพิ่มขึ้น 2 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ขณะที่ AVATR ยังประสบความสำเร็จในตลาดทุน โดยได้รับเงินลงทุน Series C กว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมความร่วมมือเชิงลึกจาก CATL และพันธมิตรอื่นๆ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ฉางอัน รุกบริการหลังการขาย ตั้งศูนย์ฝึกอบรมแห่งแรกในอาเซียนที่ไทย
ส่วนแบรนด์ DEEPAL ที่เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่และครอบครัวในตลาดรถยนต์ไฟฟ้า ในปี 2567 มียอดขายอยู่ที่ 243,800 คัน ซึ่งในเดือนธันวาคม DEEPAL ได้ผลิตรถยนต์คันที่ 400,000 ทำลายสถิติอุตสาหกรรมด้วยในระยะเวลาเพียง 29 เดือน จากความสำเร็จของ DEEPAL S05, DEEPAL S07 และ DEEPAL L07 ซึ่ง DEEPAL ตั้งเป้ายอดขายทั่วโลกสำหรับปี 2568 ที่ 500,000 คัน
ด้าน ฉางอัน NEVO มียอดขายสะสมในปี 2567 อยู่ที่ 146,300 คัน ซึ่งในปี 2568 CHANGAN NEVO จะเปิดตัวรถ SUV ขนาดกลาง–ใหญ่รุ่นใหม่รหัส C798 หรือชื่ออย่างเป็นทางการ “Q07” พร้อมด้วยรถยนต์อีก 2 รุ่น รหัส C390 และ B216
ฉางอัน UNI มียอดขายในปี 2567 อยู่ที่ 221,000 คัน พร้อมปรับโฉมโลโก้แบรนด์เป็น “Cube Logo” ทั้งยังก้าวเข้าสู่ตลาดทุนจากระดมทุน Series A ได้กว่า 2,000 ล้านหยวน
ฉางอัน ออโตโมบิล ในปี 2567 ผ่านการเปลี่ยนผ่านเชิงกลยุทธ์ที่ชัดเจน การปรับโครงสร้างองค์กรเป็นระยะ และยกระดับคุณภาพการดำเนินงาน สะท้อนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะในด้านยานยนต์พลังงานใหม่และยานยนต์อัจฉริยะ
นอกจากนี้ ฉางอัน ได้ลงทุนในแบตเตอรี่โซลิดสเตต (Solid-state Battery) จัดตั้งสถาบันวิจัยแบตเตอรี่ ซึ่งสร้างแบรนด์แบตเตอรี่ “Golden Shield” พร้อมเซลล์แบตเตอรี่มาตรฐานประสิทธิภาพสูง ผลิตเทคโนโลยีชาร์จเร็วแรงดันสูง 5C เชิงพาณิชย์ พัฒนาระบบขับเคลื่อน Smart New BlueCore 3.0 และปรับปรุงระบบจัดการแบตเตอรี่ดิจิทัล iBC นอกจากนี้มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลอัจฉริยะ พัฒนาและผลิตสถาปัตยกรรม SDA ระดับโลก พัฒนาระบบปฏิบัติการแบบครบวงจร และสร้างห้องโดยสารอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วย AI แบบหลากหลายโหมดสำหรับทุกสถานการณ์
ฉางอัน ออโตโมบิล ดำเนินธุรกิจแบบเปิดกว้าง ร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลกในการสำรวจเทคโนโลยีด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์, รถยนต์บินได้และเทคโนโลยีอื่นๆพร้อมทั้งสร้างระบบนิเวศใหม่สำหรับการขนส่งที่ครอบคลุมทั้งทางทะเลภาคพื้นและอากาศ
อย่างไรก็ตาม ในปี 2568 ฉางอัน ออโตโมบิล ประกาศเป้าหมายการพัฒนา “3311” ประกอบด้วย ยอดขายรวม 3 ล้านคัน รายได้ 3 แสนล้านหยวน ยอดขายรถยนต์พลังงานใหม่ 1 ล้านคัน และยอดขายต่างประเทศ 1 ล้านคัน จากเป้าหมายดังกล่าวจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ยานยนต์พลังงานใหม่ 13 รุ่นในปี 2568 อาทิ AVATR 06, DEEPAL S09 และ NEVO C798 ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานอย่างต่อเนื่องเช่นเซลล์แบตเตอรี่อุณหภูมิต่ำและการชาร์จเร็ว
อีกทั้ง จะพัฒนาและปรับปรุงตัวถังอัจฉริยะ CHANGAN Tops และระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าแบบกระจาย สร้างระบบนิเวศระบบปฏิบัติการ CHANGAN Tops OS ประยุกต์ใช้โมเดลภาษา และสร้างระบบขับขี่อัจฉริยะ ฉางอัน ด้วยสถาปัตยกรรมแบบ end-to-end มุ่งสู่การเป็นผู้นำอุตสาหกรรมภายในปี 2570