รายงานข่าวจากสำนักข่าว NHK ของประเทศญี่ปุ่น ระบุว่า กระทรวงคมนาคม ของประเทศญี่ปุ่น ได้มีการสั่งการให้ตรวจสอบว่ามีกรณีความคล้ายคลึงกันของบริษัทอื่น ๆ หรือ ไม่ หลังจากตรวจพบการรายงานข้อมูลความปลอดภัยที่เป็นเท็จ และ มีการบิดเบือนระหว่างกระบวนการทดสอบความปลอดภัยบนถนนของ ไดฮัทสุ (Daihatsu) และ โตโยต้า (Toyota)
ล่าสุด วันที่ 3 มิถุนายน 2567 กระทรวงคมนาคม ของประเทศญี่ปุ่น ตรวจพบบริษัทการรายงานข้อมูลความปลอดภัยที่เป็นเท็จ และ มีการบิดเบือนระหว่างกระบวนการทดสอบความปลอดภัย ของผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์จำนวน 5 ราย ได้แก่
- โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น
- มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น
- ยามาฮ่า มอเตอร์
- ฮอนด้า มอเตอร์
- ซูซูกิ มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ประกาศหยุดการขาย และ ส่งมอบ Toyota Yaris ATIV ชั่วคราว
รายละเอียดของการรายงานข้อมูลความปลอดภัยที่เป็นเท็จของแต่ละบริษัทมีดังนี้
- Toyota รายงานข้อมูลที่เป็นเท็จในการทดสอบการป้องกันคนเดินถนนในกรณีการเกิดการชน จำนวน 7 รุ่น
- Mazda รายงานข้อมูลที่เป็นเท็จในการเขียนซอฟต์แวร์ควบคุมการทดสอบกำลังเครื่องยนต์ จำนวน 5 รุ่น
- Yamaha รายงานข้อมูลที่เป็นเท็จในการทดสอบเสียงรบกวนภายใต้สภาวะที่ไม่เหมาะสม จำนวน 3 รุ่น
- Honda รายงานข้อมูลที่เป็นเท็จในการทดสอบเสียงในรถยนต์ จำนวน 22 รุ่น
- Suzuki รายงานข้อมูลที่เป็นเท็จในการทดสอบเบรกในรถยนต์จำนวน 1 รุ่น
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม ของประเทศญี่ปุ่น ได้สั่งให้ 3 บริษัท ได้แก่ โตโยต้า จำนวน 3 รุ่น, มาสด้า จำนวน 2 รุ่นและ ยามาฮ่า จำนวน 1 รุ่น ให้หยุดการผลิตและการจัดส่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์รุ่นที่เกี่ยวข้องชั่วคราว
อย่างไรก็ตาม จะมีการเข้าตรวจสอบโรงงานของบริษัททั้ง 5 แห่ง เพื่อยืนยันข้อเท็จจริง
ก่อนหน้านี้ในช่วงเดือนตุลาคม 2022 มีการเปิดเผยข้อมูลการรายงานข้อมูลความปลอดภัยที่เป็นเท็จ และ มีการบิดเบือนระหว่างกระบวนการทดสอบความปลอดภัยเริ่มต้นตั้งแต่ ฮีโน่, โตโยต้า, ไดฮัทสุ และกระทรวงคมนาคม ของประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศว่ามีการตรวตสอบบริษัทจำนวน 85 แห่ง
หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กล่าวว่าในการแถลงข่าวว่า` นี่เป็นการกระทำที่น่าเสียใจ และเป็นบ่อนทำลายความไว้วางใจของผู้ใช้รถยนต์และอุตสาหกรรมยานยนต์ของญี่ปุ่น และทำให้รากฐานของระบบการรับรองรถยนต์สั่นคลอน โดยกระทรวงฯ ได้ตัดสินใจที่จะดำเนินการตรวจสอบในสถานที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2567 และเราจะดำเนินการอย่างเข้มงวดโดยอิงจากการยืนยันข้อเท็จจริงของการประพฤติมิชอบดังกล่าว
นาย อากิโอะ โตโยดะ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ได้ชี้แจงในการแถลงข่าวว่า พบการโกงข้อมูลในรถยนต์ 7 รุ่นด้วยกัน โดยมีจำนวน 3 รุ่นที่ยังคงผลิตอยู่ในประเทศญี่ปุ่นได้แก่ Corolla Fielder, Corolla Axio และ Yaris Cross ซึ่งอีกจำนวน 4 รุ่น ได้แก่ Crown, Isis, Sienta และ Lexus RX โดย โตโยต้า “ขออภัยอย่างสุดซึ้งสำหรับความกังวลและความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นกับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเราที่ไว้วางใจโตโยต้า เรายังคงถือว่าการค้นพบปัญหาที่โตโยต้าเป็นเรื่องจริงจัง”
นอกจากนี้ แม้ว่าจะได้รับการยืนยันแล้วว่าไม่มีปัญหาด้านประสิทธิภาพกับรถยนต์รุ่นใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการโกงผลทดสอบ แต่ก็มีการตัดสินใจที่จะระงับการจัดส่งและการขายรถยนต์ทั้ง 3 รุ่นในปัจจุบันที่ผลิตในญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป โดยทั้ง 3 รุ่นนี้ผลิตที่โรงงาน Miyagi Ohira ของ Toyota Motor East Japan และ โรงงาน Iwate
ด้าน ประธานบริษัท มาสด้า คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า จากข้อมูลของ Mazda พบว่ามีการโกงข้อมูลในรถยนต์ 2 โมเดลที่ยังคงผลิตในประเทศ ได้แก่ Roadster RF และ MAZDA2 ส่วนอีก 3 รุ่นได้มีการเลิกผลิตไปแล้วได้แก่ Atenza, Axela และ MAZDA6
ส่วน บริษัท ยามาฮ่า มอเตอร์ จำกัด ได้ระงับการจัดส่งรถจักรยานยนต์รุ่นหนึ่งในการผลิต นั่นคือ YZF-R1 หลังจากพบว่ารถจักรยานยนต์ทั้ง 3 รุ่นได้รับการทดสอบเสียงภายใต้สภาวะที่ไม่เหมาะสม
นายโทชิฮิโระ มิเบะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ของฮอนด้า มอเตอร์ กล่าวว่า “การทดสอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับรองเป็นข้อกำหนดเบื้องต้นที่สำคัญในการรับรองว่าลูกค้าของเราสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ของเราได้อย่างปลอดภัย และ Honda มุ่งมั่นที่จะให้ความสำคัญกับผลลัพธ์อย่างจริงจัง และเราขออภัยอย่างสุดซึ้งสำหรับความกังวลอันใหญ่หลวงที่เราได้ก่อขึ้นกับลูกค้า ตัวแทนจำหน่าย ซัพพลายเออร์ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ อีกมากมาย
สำหรับ ซูซูกิ เคยผลิตรุ่นหนึ่งคือ อัลโต ในอดีต และในปี 2014 รายงานผลการทดสอบเบรกมีค่าที่แตกต่างจากค่าที่วัดได้จริง
ที่มา : NHK