slide 1
slide 1
Image Slide 2
Image Slide 2
previous arrowprevious arrow
next arrownext arrow
Homeข่าวสารข่าวรถยนต์Toyota เข้าพบรัฐบาลเสนอแนวทางแก้ไขสถานการณ์ตลาดรถยนต์ชะลอตัว

Toyota เข้าพบรัฐบาลเสนอแนวทางแก้ไขสถานการณ์ตลาดรถยนต์ชะลอตัว

นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย (Toyota) เปิดเผยกับ Autolifethailand ว่า บริษัทได้เข้าพบกับตัวแทนของรัฐบาลเพื่อนำเสนอแนวทางการแก้ไขสถานการณ์ตลาดรถยนต์ชะลอตัวและมาตรการกระตุ้นการจำหน่ายรถยนต์ ซึ่งได้มีการนำเสนอไป 3-4 แนวทาง โดยหลัก ๆ คือมาตรการช่วยเหลือด้านการอนุมัติสินเชื่อ (ไฟแนนซ์) และต้องไม่สร้างภาระหนี้เสียในอนาคต

ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวในการกระตุ้นจะไม่เหมือนกับมาตรการรถยนต์คันแรก เนื่องจากมาตรการรถยนต์คันแรกเป็นการให้ลูกค้าออกเงินซื้อไปก่อนและไปรับคืนภายหลัง แต่สุดท้ายเงินที่ได้รับคืนไปไม่ได้เอากลับมาเป็นเงินผ่อนรถแต่อาจจะเอาไปใช้สร้างหนี้อื่นเพิ่มเติม ดังนั้นแนวทางการกระตุ้นใหม่จะต้องเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในทันที

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : โตโยต้า หั่นคาดการณ์ตลาดรถยนต์ปี’67 ลงอีก 9% เหตุเศรษฐกิจหดตัวแรง

สำหรับ ภาพรวมตลาดรถยนต์ในประเทศไทย 6 เดือนแรก (มกราคม-มิถุนายน) ของปี 2567 มียอดขายสะสมรวมอยู่ที่ 308,027 คัน ลดลง 24.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสาเหตุหลักมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศไทยและอัตราการปฏิเสธสินเชื่อ (ไฟแนนซ์) ที่สูงขึ้นในรถยนต์ทุกประเภท โดยเฉพาะในกลุ่มรถกระบะที่มีอัตราการปฏิเสธสินเชื่อในระดับสูงกว่า 30% ส่วนรถยนต์นั่งทุกประเภทมีอัตราการปฏิเสธสินเชื่อสูงขึ้นตามมาตามลำดับ

“ต้องยอมรับว่าอัตราการปฏิเสธสินเชื่อถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับตลาดรถยนต์ในเวลานี้มาก ในแง่ความเข้มงวดในการอนุมัติภายใต้เงื่อนไขเดิม ประกอบกับคุณภาพผู้กู้ในปัจจุบันเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้ไม่ผ่านการอนุมัติ”

ขณะที่ โตโยต้า ได้ปรับลดคาดการณ์ยอดขายตลาดรถยนต์ในประเทศไทยลงเหลือ 6.5 แสนคัน จากช่วงปลายเดือน มีนาคม 2567 ได้มีการปรับลดลงเหลือ 7.3 แสนคัน จากต้นปีที่คาดการณ์อยู่ที่ 8 แสนคัน ซึ่งการปรับลดตัวเลขคาดการณ์ตลาดล่าสุดถือเป็นตัวเลขที่ต่ำสุดในรอบหลัก 10 ปี และต่ำกว่าในช่วงสถานการณ์การณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกด้วย

Toyota

นายศุภกร กล่าวว่า Toyota ได้ปรับลดเป้าหมายการขายในปี 2567 ลงเหลือ 2.4 แสนคัน เพื่อให้สอดคล้องกับตลาด โดยลดลงจากช่วงปลายเดือน มีนาคม 2567 ได้มีการปรับลดลงเหลือ 2.5 แสนคัน จากต้นปีที่ตั้งเป้าไว้อยู่ที่ 2.77 แสนคัน โดยจะมีการปรับสัดส่วนระหว่างรถกระบะและรถยนต์นั่งให้สอดคล้องกับสภาพตลาด ซึ่งบริษัทตั้งเป้าหมายส่วนแบ่งทางการตลาดในตลาดรถยนต์นั่งไว้ที่ 28%

“การคาดการณ์หลังจากนี้เป็นไปได้ค่อนข้างยากดังนั้นเราจึงตั้งเป้าส่วนแบ่งทางการตลาดไว้ที่ 36% หรือคิดเป็น 2.4 แสนคัน จากคาดการณ์ตลาดที่ 6.5 แสนคัน”

นอกจากนั้น บริษัทพยายามซัพพอร์ตลูกค้าให้สามารถออกรถยนต์ได้ ซึ่งบริษัทได้รับความช่วยเหลือจาก โตโยต้า ลีซซิ่ง ในการพิจารณาสินเชื่อ (ไฟแนนซ์) จึงส่งผลให้ยอดขายของ โตโยต้า ในช่วง 6 เดือนแรก ลดลงน้อยกว่าตลาด หรืออยู่ที่ 116,278 คัน ลดลง 15.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขณะที่ตลาดลดลง 24.2% โดย โตโยต้า ลีซซิ่ง อยู่ภายใต้การควบคุมของธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) แต่การรับความเสี่ยงในการอนุมัติของแต่ละบริษัทไม่เท่ากัน

ส่วน สถานการณ์การแข่งขันของรายการส่งเสริมทางการขาย (โปรโมชั่น) ในตลาดรถยนต์ปัจจุบันยอมรับว่ามีการแข่งขันที่รุนแรงสูง แต่ปัญหาสำคัญคือการผ่านการอนุมัติสินเชื่อมากกว่า ดังนั้นความต้องการของตลาด (ดีมานด์) ยังมีอยู่แต่ลูกค้าไม่ผ่านไฟแนนซ์ โดยเราได้ทำงานกับผู้แทนจำหน่าย (ดีลเลอร์) อย่างใกล้ชิด ซึ่งแม้ยอดขายจะลดลงและมีความยากลำบากในสถานการณ์นี้ โตโยต้า ยังมีการสนับสนุนดีลเลอร์เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงในทุกด้าน และด้วยความแข็งแกร่งของแบรนด์ที่มีรถยนต์อยู่บนท้องถนนเป็นจำนวนมากทำให้ดีลเลอร์ยังมีรายได้จากบริการหลังการขายที่หล่อเลี้ยงธุรกิจในสถานการณ์นี้

Toyota Camry HEV
Toyota Camry HEV

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : NEW Toyota Camry HEV เปิดตัวในไทย ตุลาคม 2024 นี้ ! Hybrid ล้วน คาดมี 3 รุ่นย่อย จัดเต็ม Option

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่จะทำให้ภาพรวมตลาดรถยนต์ไปถึง 6.5 แสนคัน หลังจากนี้ได้หรือไม่มี 2 ปัจจัยคือ

  1. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐ
  2. การเริ่มผลิตในประเทศของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติจีนและผู้บริโภคตอบรับดี

หากทั้ง 2 ปัจจัยดังกล่าวเป็นไปในทางบวกจะส่งผลให้ตลาดเป็นไปตามคาดการณ์

ด้านมาตรการสนับสนุนการผลิต รถยนต์ไฮบริด (HEV) ที่รัฐบาลประกาศออกมาล่าสุด Toyota เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว เนื่องจากเทคโนโลยีไฮบริด ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคที่ดี โดย 6 เดือนแรก รถยนต์ไฮบริดมีอัตราเติบโตอยู่ที่ 60% โดยบริษัทอยู่ระหว่างคุยกับซัพพลายเออร์ในการเตรียมความพร้อม แต่จะต้องศึกษาในรายละเอียดของมาตรการดังกล่าวและเงื่อนไขว่าจะมีปริมาณการผลิตที่คุ้มค่าการลงทุนหรือไม่

โดยในช่วงที่เหลือของปีบริษัทมีแผนการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ที่จะกระตุ้นตลาดได้อย่างแน่นอน รวมถึงมีแผนการเปิดตัว โตโยต้า พรีอุส ใหม่ (Toyota Prius) ซึ่งเป็นรุ่นนำเข้า (CBU)

- Advertisement -spot_img
Mitsubishi Mega Deal
Mitsubishi Mega Deal
ออล-นิว มิตซูบิชิ ไทรทัน แบล็ก เอดิชัน
land rover
previous arrow
next arrow
- Advertisement -spot_img
- Advertisement -spot_img

Stay Connected

400,000FansLike
6,955FollowersFollow
153,000FollowersFollow
319FollowersFollow
107,000SubscribersSubscribe

Must Read

Related News