สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นรายใหญ่อย่าง โตโยต้า (TOYOTA), มาสด้า (MAZDA) และ ซูบารุ (SUBARU) ได้มีการจัดงานแสดงและการประชุมร่วมกันเพื่อร่วมกันพัฒนาเครื่องยนต์เจนเนอเรชั่นใหม่ที่สามารถใช้งานกับรถยนต์หลายหลายประเภทและหลากหลายเชื้อเพลิง ซึ่งการพัฒนาร่วมกันดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนในการพัฒนาและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
ทั้งนี้ บริษัทผู้ผลิตรถยนต์แต่ละรายจะพัฒนาออกแบบเครื่องยนต์ที่ยนต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง อาทิ
- โตโยต้า จะมีการพัฒนาเครื่องยนต์ 4 สูบ แถวเรียงใหม่
- มาสด้า จะมีการพัฒนาเครื่องยนต์โรตารี่
- ซูบารุ จะพัฒนาเครื่องยนต์บ็อกเซอร์สูบนอน
รวมถึงจะพัฒนาระบบส่งกำลังใหม่ที่จะเข้ากับเชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางด้านคาร์บอนหลายชนิด อาทิ ไฮโดรเจนเหลว, เชื้อเพลิงชีวภาพ และเชื้อเพลิงสังเคราะห์ เป็นต้น
ขณะที่ แม้ว่าผู้ผลิตรถยนต์ทั้ง 3 ราย จะร่วมมือกันเพื่อพัฒนาเครื่องยนต์สันดาปภายในที่มีขนาดเครื่องยนต์เล็กลงและมีอัตราประหยัดเชื้อเพลิงที่ดีขึ้น แต่ก็ยังแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ายังคงเป็นคู่แข่งกัน แต่เป้าหมายที่ร่วมกันประการหนึ่งของทั้ง 3 ราย คือ การเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องยนต์สันดาปภายใน ทำงานร่วมกับ มอเตอร์, แบตเตอรี่ และ เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า อื่น ๆ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ส่องยอดขาย Subaru ในไทย ย้อนหลัง 13 ปี (2011-2024) ก่อนหยุดการผลิตรถยนต์ในไทย 30 ธันวาคม 2024 นี้
Hiroki Nakajima ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ผู้ผลิตรถยนต์จะต้องเผชิญกับมาตรฐานการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เข้มงวดมากขึ้นในตลาดต่าง ๆ อาทิ ยุโรป ซึ่งจะมีการกำหนดมาตรฐานการปล่อยไอเสียยูโร 7 สำหรับรถยนต์และรถตู้ตั้งแต่ปี 2573 และจะมีการสั่งห้ามจำหน่ายรถยนต์ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใหม่ตั้งแต่ปี 2578
สำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่า การเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ชะลอตัวลงทำให้การนำรถยนต์พลังงานไฮบริดมาปรับปรุงใหม่ สะท้อนให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวในตลาดโลกที่คล้ายกันของแบรนด์ต่าง ๆ อาทิ เมอร์เซเดส-เบนซ์ และ บีวายดี ที่มีการเปิดตัวรถยนต์พลังงานไฮบริดใหม่
ที่มา :
Toyota showcases compact engines adaptable to different fuels
Toyota, Mazda, and Subaru Are Teaming up on New Combustion Engines