ให้เหมาะกับกิจวัตร และประหยัดเงินในกระเป๋า
ทุกวันนี้ก่อนจะก้าวเท้าออกจากบ้านในแต่ละวัน นอกจากความกังวลในเรื่องโควิด-19 แล้ว ยังมีเรื่องภัยร้ายจากฝุ่น PM2.5 ด้วย เพราะเจ้าฝุ่นจิ๋วนี้ยังไม่มีทีท่าจะหมดไปง่าย ๆ การต้องเผชิญในทุกเมื่อเชื่อวันโดยขาดการป้องกันที่เหมาะสม จะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายตก ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคร้ายแรงจำพวก โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือดสมอง ได้อีกด้วย
“หน้ากากอนามัย” จึงกลายเป็นอาวุธสำคัญในยุค New Normal และต่อเนื่องไปจนถึง Next Normal ซึ่ง ศ.ดร.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืดและระบบหายใจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ข้อมูลไว้ในงานสัมมนา “Thailand Protective Mask Conference 2021” ซึ่งสนับสนุนโดย บริษัท บริทิช ดิสเพนซารี่ เฮลท์แคร์ จำกัด ว่า “PM2.5 ส่งผลต่อร่างกายมากน้อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับ ปริมาณและระยะเวลาการสัมผัส หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทางเลือกที่ดีที่สุดคือการสวมใส่หน้ากากอนามัยที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมในการป้องกัน PM2.5 ได้ดี ซึ่งต้องเป็น “หน้ากากอนามัยชนิด N95 (KN95) เท่านั้น” เพราะสามารถป้องกันฝุ่นจิ๋วได้ถึง 95% ขณะที่หน้ากากผ้าธรรมดาจะป้องกันได้เพียง 21.28% ที่สำคัญคือควรใส่ให้แนบจมูกและชิดใบหน้าให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้”
ปัจจุบันหน้ากากอนามัยชนิด N95 (KN95) มีหลายรุ่นที่ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับกิจวัตรในแต่ละวัน ทั้งแบบที่มีวาล์ว (one way valve) เพื่อช่วยระบายลมหายใจและความร้อน หายใจสะดวก หรือแบบไม่มีวาล์วแนบสนิทไปกับใบหน้าซึ่งช่วยปกป้องจากภัยฝุ่นได้เป็นอย่างดี และ แบบ 3D ที่ทำให้ใบหน้าดูสวยงามขึ้น นุ่มสบาย สำหรับผู้ที่ต้องการสวมใส่เป็นเวลานาน
แต่ต้องยอมรับว่าหน้ากากอนามัยชนิด N95 (KN95) ที่มีการรับรองมาตรฐานนั้น จะมีราคาสูงกว่าหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าทั่วไป หลายคนจึงมักมีคำถามว่าแล้วหน้ากากอนามัยชนิด N95 (KN95) นั้น สามารถใช้ซ้ำได้หรือไม่ ? ศ.ดร.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล จึงได้ให้หลักการตรวจพิจารณาใช้หน้ากากอนามัยซ้ำว่า
พิจารณาจากคุณภาพอากาศ
ก่อนออกจากบ้านทุกครั้งควรตรวจสอบคุณภาพอากาศของพื้นที่ที่จะเดินทางไป ซึ่งปัจจุบันมีหลายแอปพลิเคชันที่สามารถตรวจสอบคุณภาพอากาศได้มากมาย อาทิ AirVisual, Air4Thai, Air Matters, Airveda และ BreezoMeter โดยควรตรวจสอบค่าเฉลี่ยรายวัน และค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง แต่ค่ามาตรฐานของประเทศไทยแม้ระบุว่าปลอดภัยก็ยังคงสูงกว่าค่าปกติที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ ซึ่งหากเดินทางไปในสถานที่มีปริมาณค่าฝุ่นอยู่ที่ 51-200 สามารถใช้หน้ากากอนามัยซ้ำได้ 3-4 ครั้ง แต่ถ้าปริมาณค่าฝุ่นเกิน 200 ขึ้นไปนั้น ไม่ควรนำหน้ากากมาใช้ซ้ำ เพราะบริเวณที่มีฝุ่นมากจะทำให้ประสิทธิภาพของตัวกรองนั้นลดลง
พิจารณาจากสภาพของหน้ากากอนามัยหลังใช้งานครั้งแรก
นอกเหนือจากการพิจารณาจากคุณภาพอากาศแล้ว หากในวันที่เราออกจากบ้านจะมีค่าฝุ่นไม่สูงมาก แต่สภาพของหน้ากากมีการชำรุด เสื่อมสภาพ ก็ไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำ โดยให้ลองสังเกตว่าเมื่อมองด้วยตาแล้วต้องไม่สกปรก ไม่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง ไม่เปียกน้ำ ไม่ฉีกขาดหรือชำรุด ใส่แล้วไม่กระชับกับใบหน้า หรือหากใครที่มีอาการป่วยไม่สบายก็ไม่ควรใช้หน้ากากอนามัยซ้ำ เพราะอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อไวรัส
พิจารณาจากวิธีการเก็บรักษา
จัดเก็บรักษาหน้ากากอนามัยที่ดี ควรมีวิธีจัดเก็บอย่างดี ถูกสุขลักษณะ เช่น ในถุงซิปล็อคที่มีการห่อหุ้มเพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อน ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากรุ่นใดก็ตาม หากพบว่าวันที่ใช้งานนั้นไม่ได้จัดเก็บอย่างมิดชิด ก็ควรหลีกเลี่ยงการนำกลับมาใช้ซ้ำ
วิเคราะห์ เจาะลึก ทุกข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา กับ นิธิ ท้วมประถม ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสาร ข่าวรถยนต์ รถใหม่ สกู๊ปพิเศษ ลองขับ อย่าลืมติดตาม ช่องยูทูป – auto lifethailand tv