รางวัลชนะเลิศจากคณะกรรมการ ในฐานะ “โรงงานอัจฉริยะ” (Smart Factory) ที่มีนโยบายความยั่งยืนที่เข้มงวด และการมีส่วนร่วมต่อสังคมในวงกว้าง
วันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา บริษัทที่ปรึกษาของ Kearney ร่วมกับ Süddeutscher Verlag Veranstaltungen และนิตยสารการค้า Produktion ประกาศมอบรางวัล “โรงงานยอดเยี่ยมแห่งปี” ประจำปี 2567 แก่ โรงงานปอร์เช่ ในเมืองไลพ์ซิก (Leipzig) ประเทศเยอรมนี ที่โดดเด่นกว่าคู่แข่งและสร้างความประทับใจให้กับคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในการเยี่ยมชมเมื่อฤดูใบไม้ร่วงที่ผ่านมา โดยมีโรงงานเกือบ 100 แห่งจากทั่วโลกที่เข้าร่วมชิงรางวัลอันทรงเกียรตินี้
โรงงานอัจฉริยะที่ผสมผสานนวัตกรรม ประหยัดทรัพยากร และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปอร์เช่ มุ่งสู่อนาคตแห่งการผลิตยานยนต์ด้วย โรงงานอัจฉริยะ ที่ผสมผสานเทคโนโลยีล้ำสมัย เข้ากับแนวทางการผลิตที่ยั่งยืนและยืดหยุ่น โดยมีเป้าหมายหลักคือ การเพิ่มประสิทธิภาพ ประหยัดทรัพยากร และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หัวใจสำคัญ ของโรงงานอัจฉริยะ คือ กระบวนการผลิตแบบผสมผสาน ที่ได้รับการออกแบบให้มีความยืดหยุ่นและมีความซับซ้อนสูง ซึ่งสามารถรองรับการผลิตรถยนต์หลากหลายรูปแบบ บนสายการประกอบเดียว ไม่ว่าจะเป็นระบบขับเคลื่อนแบบเผาไหม้ ไฮบริด หรือไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังมีระบบเทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น ระบบตรวจสอบแบตเตอรี่ด้วยกล้องสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และระบบการวัดเกลียวสกรูอัตโนมัติ
เทคโนโลยีล้ำสมัยจากแผนกพ่นสี ในอดีตสมาชิกในแผนกพ่นสีจะตรวจสอบชั้นเคลือบสีด้วยสายตา แต่ปัจจุบัน ระบบเทคโนโลยีอัจฉริยะได้เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบ ด้วยระบบตรวจจับข้อผิดพลาดอัตโนมัติ (Automatic Error Detection – AFE) ที่เริ่มใช้งานตั้งแต่ปี 2023 ซึ่งใช้เวลาเพียง 70 วินาที หุ่นยนต์ 2 ตัวจะสแกนพื้นผิวด้านนอกทั้งหมดของตัวรถด้วยแถบแสงจากภาพถ่ายประมาณ 100,000 ภาพ ระบบสามารถวิเคราะห์การสะท้อนแสงเพื่อระบุความผิดปกติแม้เพียงเล็กน้อย จากผลลัพธ์ที่ได้ คอมพิวเตอร์ประมวลผลภาพ 5 เครื่องจะสร้างภาพร่างแบบ 3 มิติ ซึ่งแสดงให้พนักงานเห็นตำแหน่งและประเภทของสิ่งผิดปกติที่ตรวจพบได้อย่างรวดเร็ว
ความยั่งยืน และความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จในอนาคต
ปอร์เช่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน โดยตั้งเป้าที่จะลดการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด และวิสัยทัศน์อีกประการหนึ่งของโรงงาน Zero Impact คือการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน ความหลากหลายทางชีวภาพ และคุณภาพอากาศ โดยตั้งแต่ปี 2560 โรงงานในเมืองไลพ์ซิกใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเท่านั้น และการผลิตที่โรงงานในเมืองไลพ์ซิก (Leipzig) มีความเป็นกลางจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาตั้งแต่ปี 2564 โรงงานได้ติดตั้งระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ 4 ระบบ สำหรับกำลังการผลิตรวมประมาณ 9.4 MWp เพื่อการสร้างไฟฟ้าภายในโรงงาน ปอร์เช่ตั้งเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้เป็นกลาง (carbon-neutral) ตลอดจนสร้างห่วงโซ่ที่มีคุณภาพสำหรับรถยนต์ที่ผลิตใหม่ภายในปี 2573
นอกเหนือจากการประหยัดทรัพยากรในการผลิตแล้ว ปอร์เช่ยังได้แสดงความมุ่งมั่นต่อสังคมในเมืองไลพ์ซิก (Leipzig) อีกด้วย ผู้ผลิตรถสปอร์ตรายนี้สนับสนุนโครงการในภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา วัฒนธรรมสังคม กีฬา และสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ของโรงงานยังรวมถึงโครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์หลากหลายชนิดในพื้นที่ประมาณ 132 เฮกตาร์ (hectare) มานานกว่า 20 ปี โรงงานได้ใช้แนวคิด การเลี้ยงสัตว์ในทุ่งหญ้า ที่อิงตามระบบธรรมชาติ นอกเหนือจากการเลี้ยงวัวพันธุ์ Heck และม้าพันธุ์ Exmoor แล้ว ปอร์เช่ยังได้นำพาผึ้ง honeybees ประมาณ 3 ล้านตัวมาอยู่ที่นี่ ซึ่งพื้นที่ธรรมชาตินี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและพืชหลายชนิดอีกด้วย
ในปี 2545 โรงงานปอร์เช่ในเมืองไลพ์ซิก (Leipzig) ได้เปิดดำเนินการ เป็นโรงงานผลิตแห่งที่ 2 ของปอร์เช่ รองจากสำนักงานใหญ่ของบริษัทในเมืองสตุ๊ทการ์ท-ซุฟเฟินเฮาเซิน (Stuttgart-Zuffenhausen) ปัจจุบัน โรงงานแห่งนี้เป็นสถานที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ และนับว่าเป็นผู้สร้างงานในภูมิภาคเยอรมนีตอนกลาง เพราะมีพนักงานมากกว่า 4,600 คน มีการผลิตรถยนต์ปอร์เช่มาคันน์ (Macan) และพานาเมร่า (Panamera) ที่นี่ โรงงานแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของ Porsche Experience Centre ซึ่งมีสนามแข่งที่ได้รับการรับรองจาก FIA และสนามออฟโรดอีกด้วย
วิเคราะห์ เจาะลึก ทุกข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา กับผม นิธิ ท้วมประถม
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสาร ข่าวรถยนต์ รถใหม่ สกู๊ปพิเศษ ลองขับ อย่าลืมติดตามเรา ช่องยูทูป – auto lifethailand tv
ติดต่อโฆษณา
Project Manager (คุณแอม)
โทร. 089 533 5115
Email : autolifethailand@gmail.com
หรือ Inbox ได้ทาง Facebook Fanpage https://www.facebook.com/autolifethailand.tv