บริษัท นิสสัน มอเตอร์ จำกัด (Nissan) และบริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด (Honda) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ที่จะดำเนินการวิจัยร่วมกันในเทคโนโลยีพื้นฐานของยานพาหนะที่ฟังก์ชั่นหลักถูกควบคุมโดย Software หรือ Software-Defined Vehicles (SDVs) สำหรับยานยนต์ ในรุ่นต่อไป เกี่ยวกับการเริ่มหารือในความร่วมมือเชิงกลยุทธ์สำหรับเทคโนโลยีอัจฉริยะ และการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยทั้งสองบริษัทยังได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการกระชับกรอบความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ซึ่งกำลังหารือ และพิจารณาในขอบเขตที่กว้างมากขึ้นอีกด้วย
Nissan และ Honda มีจุดประสงค์เพื่อร่วมมือกันในด้านต่างๆ รวมถึงเพื่อเร่งความพยายามในการสร้างสังคมที่เป็นกลางทางคาร์บอนและปราศจากอุบัติเหตุจากการจราจร ทั้งสองบริษัทกำลังร่วมกันการวิจัยและพัฒนา และลงทุนในเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อส่งเสริมการขยายผลและการวิวัฒนาการของรถยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะ ยานพาหนะที่ฟังก์ชั่นหลักถูกควบคุมโดย software หรือ SDV ซึ่งเป็นขอบเขตการศึกษาในด้านความเป็นอัจฉริยะ และการใช้พลังงานไฟฟ้า
ทั้งสองบริษัทยังเชื่อด้วยว่าซอฟต์แวร์ในด้านต่างๆ ซึ่งรวมถึง การขับขี่อัตโนมัติ การเชื่อมต่อ และ ปัญญาประดิษฐ์ จะกำหนดมูลค่าของยานพาหนะในอนาคต จะกลายเป็นแหล่งที่มาของความสามารถในการแข่งขัน เป็นพื้นที่ที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และการทำงานร่วมกันสามารถเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย ทั้งหมดนี้ล้วนมาจากการหลอมรวมทรัพยากรของทั้งสองบริษัท ได้แก่ ความรู้ทางเทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษย์
จากมุมมองที่มีร่วมกัน นิสสัน และ ฮอนด้า ได้ทำข้อตกลงการวิจัยร่วมเกี่ยวกับเทคโนโลยีพื้นฐานของยานพาหนะที่ฟังก์ชั่นหลักถูกควบคุมโดย software (SDV) สำหรับยานยนต์รุ่นต่อไป และกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการส่งมอบคุณค่าใหม่ๆ จากการสร้างสรรค์ร่วมกันในครั้งนี้อีกด้วย โดยบันทึกความเข้าใจที่ลงนามใหม่ของทั้งสองบริษัทนี้ มีเป้าหมายที่จะกระชับความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพื่อกำหนดขอบเขตความร่วมมือที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น และเร่งให้เกิดการบรรลุความร่วมมือเชิงกลยุทธ์
นับจากนี้ไป Nissan และ Honda จะยังคงศึกษาวิธีการสร้างการทำงานร่วมกันเพิ่มเติมระหว่างทั้งสองบริษัท และทำงานเพื่อดำเนินการตามมาตรการเฉพาะอย่างรวดเร็ว
แพลฟอร์มสำหรับยานพาหนะที่ฟังก์ชั่นหลักถูกควบคุมโดย software หรือ Software Defined Vehicle (SDV) ของยานยนต์รุ่นต่อไป
1. ข้อตกลงการวิจัยร่วมกันเกี่ยวกับเทคโนโลยีพื้นฐานสำหรับแพลตฟอร์มยานพาหนะที่ฟังก์ชั่นหลักถูกควบคุมโดย software (SDV) รุ่นต่อไป
- แพลตฟอร์มสำหรับ SDV รุ่นต่อไปเป็นรากฐานสำคัญของสาขาปัญญาประดิษฐ์ ทั้งสองบริษัทตกลงที่จะดำเนินการวิจัยร่วมกันเกี่ยวกับเทคโนโลยีพื้นฐานและเริ่มต้นการวิจัยแล้ว
- นิสสัน และ ฮอนด้า ตั้งเป้าที่จะทำการวิจัยขั้นพื้นฐานให้เสร็จสิ้นภายในเวลาประมาณหนึ่งปี และพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของการพัฒนาการผลิตจำนวนมาก
ประเด็นสำคัญของความร่วมมือในบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการกระชับความร่วมมือเชิงกลยุทธ์
2. แบตเตอรี่
– แบตเตอรี่เป็นองค์ประกอบสำคัญของ EV และทั้งสองบริษัทจะพิจารณาขอบเขตของความร่วมมือจากมุมมองระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ซึ่งรวมถึงการแบ่งปันข้อมูลจำเพาะและการจัดหาร่วมกัน การนำเทคโนโลยีแบตเตอรี่และสินทรัพย์ของทั้งสองบริษัทมารวมกันจะช่วยให้มีการนำเสนอตัวเลือกของแบตเตอรี่ที่หลากหลาย ตั้งแต่รุ่นประสิทธิภาพสูงไปจนถึงรุ่นที่ใช้ต้นทุนต่ำ ตลอดจนผลการลดต้นทุนผ่านการกระจายการลงทุน และการป้องกันความเสี่ยง พร้อมความได้เปรียบด้านปริมาณการผลิต
- ทั้งสองบริษัทได้บรรลุข้อตกลงพื้นฐานเพื่อรวมข้อมูลจำเพาะของโมดูลเซลล์แบตเตอรี่สำหรับ EV จากมุมมองระยะกลางถึงระยะยาว โดยมีเป้าหมายเพื่อให้แบตเตอรี่ที่พวกเขาวางแผนจะสามารถจัดหาให้ใช้งานได้ในยานพาหนะของทั้งสองบริษัท
- ฮอนด้า และ นิสสัน จะศึกษาการจัดหาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตโดย L-H Battery Company, Inc. ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง ฮอนด้า และ LG Energy Solution ให้กับนิสสันในอเมริกาเหนือหลังปี 2571
3. เพลาขับเคลื่อนไฟฟ้า
- ทั้งสองบริษัทได้บรรลุข้อตกลงพื้นฐานเพื่อรวมข้อมูลจำเพาะของ เพลาขับเคลื่อนไฟฟ้า หรือ e-Axles ของตนร่วมกัน ในระยะกลางถึงระยะยาว สำหรับใช้ในรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเจเนอเรชั่นถัดไปของทั้งสองบริษัท
- ขั้นตอนแรกที่ตกลงร่วมกันคือการใช้มอเตอร์และอินเวอร์เตอร์ซึ่งเป็นแกนหลักของ เพลาขับเคลื่อนไฟฟ้า (e-Axles) ร่วมกัน
4. การผสมผสานผลิตภัณฑ์ร่วมกัน
ด้วยโมเดลที่จะจำหน่ายทั่วโลกของ นิสสัน และ ฮอนด้า ทั้งสองบริษัทจะพิจารณาเสริมโมเดลจากมุมมองระยะสั้น ระยะกลาง จนถึงระยะยาว โดยในระยะสั้น นิสสัน และ ฮอนด้า บรรลุข้อตกลงพื้นฐานเกี่ยวกับรุ่นและภูมิภาคที่จะเสริมโดยแต่ละบริษัท และยังมีข้อตกลงเกี่ยวกับโครงร่างของระบบตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่จะดำเนินการร่วมกันโดยทั้งสองบริษัท ทั้งนี้ ยานยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) และ ยานยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า (EVs) ถือเป็นยานพาหนะเพื่อการเสริมซึ่งกันและกัน
5. การบริการด้านพลังงานและจัดการหมุนเวียนทรัพยากรในประเทศญี่ปุ่น
นอกจากนี้ ทั้งสองบริษัทยังตกลงที่จะศึกษาความเป็นไปได้ของความร่วมมือในด้านบริการพลังงานและการหมุนเวียนทรัพยากรในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ การชาร์จ อุปกรณ์ด้านพลังงาน บริการด้านพลังงานที่ใช้แบตเตอรี่ และบริการชาร์จไฟฟ้า