การติดตามและตรวจสอบเสียงรบกวนภายในห้องโดยสาร ผ่านทั้งระบบเสมือนจริงและจากรถคันจริงคือภารกิจหลักของทีม NVH ของฟอร์ด
หากถังน้ำมีรูรั่ว น้ำก็จะไหลซึมออกมา เช่นเดียวกัน รอยต่อระหว่างชิ้นส่วนต่างๆ ของรถก็อาจทำให้เกิดเสียงรบกวนภายในห้องโดยสารได้
“การติดตามและตรวจสอบเสียงรบกวนภายในห้องโดยสาร ผ่านทั้งระบบเสมือนจริงและจากรถคันจริงคือภารกิจหลักของทีม NVH ของฟอร์ดที่ศึกษาเรื่องระดับเสียง (N – noise) ความสั่นสะเทือน (V – vibration) และความกระด้างของเสียง (H – harshness)” ดร.มาร์ค ทอมป์สัน วิศวกรทีม NVH ของฟอร์ด เรนเจอร์ และฟอร์ด เอเวอร์เรสต์ กล่าว
“ลูกค้าฟอร์ด เอเวอเรสต์ ต้องการความเงียบและปราศจากเสียงรบกวนภายในห้องโดยสาร เพื่อให้ทุกคนในรถได้ยินเสียงบทสนทนาอย่างทั่วถึงไม่ว่าจะนั่งอยู่ตำแหน่งไหนในรถ” ดร.ทอมป์สัน กล่าว
“ดัชนีความชัดเจนของเสียงภายในห้องโดยสารของฟอร์ด เอเวอเรสต์ถือว่าอยู่ในระดับดีมาก ผู้โดยสารที่นั่งเบาะหลังสามารถพูดคุยกับคนขับได้แบบสบายๆ โดยไม่จำเป็นต้องพูดให้ดังขึ้น”
ทีม NVH ใช้ดัชนีความชัดเจนของเสียง (Articulation Index) ซึ่งเป็นมาตรฐานในการวัดเปอร์เซ็นต์การได้ยินเสียงในบทสนทนาแบบตัวต่อตัวเพื่อทดสอบว่าผู้โดยสารสามารถพูดคุยกันได้อย่างง่ายดายเพียงใด
พัฒนาคุณภาพเสียงให้ชัดเจนตั้งแต่การร่างแบบ
ก่อนที่รถต้นแบบจะถูกพัฒนาขึ้น ทีม NVH ใช้เวลาหลายร้อยชั่วโมงไปกับการทดสอบแรงดันเสมือนจริงและวิเคราะห์การไหลเวียนอากาศที่ซับซ้อนภายในรถฟอร์ด เอเวอเรสต์ เพื่อให้มั่นใจว่ามีเพียงอากาศที่จำเป็นต่อการระบายอากาศเท่านั้นไหลเข้าสู่ห้องโดยสาร (ประมาณ 100 ลิตรต่อวินาที)
“เรานำระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (CAD) มาช่วยประเมินเพื่อให้แน่ใจว่าทุกจุดเชื่อม รอยต่อ และการซีลยางเป็นไปอย่างรัดกุมและแน่นหนาทุกจุด นอกจากนี้ เรายังทดสอบโดยใช้เครื่องมือจำลองแบบต่างๆ เพื่อตรวจสอบและอุดรอยรั่วก่อนเริ่มผลิตรถต้นแบบ” ดร.ทอมป์สัน กล่าว
เมื่อทดสอบด้วยระบบเสมือนจริงผ่านแล้ว จึงมีการพัฒนารถต้นแบบเพื่อการทดสอบทางกายภาพซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการควบคุมคุณภาพที่เข้มงวดของฟอร์ด กระบวนการตรวจสอบการรั่วไหลของอากาศเริ่มจากการอัดอากาศเข้าไปให้เต็มด้านในรถที่ปิดประตู หน้าต่าง และช่องระบายอากาศทั้งหมดเพื่อสร้างสภาวะแรงดันบวก จากนั้นจึงใช้มาตรวัดมวลอากาศ (Mass airflow sensors) มาตรวจจับปริมาณและความเร็วในการรั่วไหลของอากาศ
มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
เมื่อรถต้นแบบผ่านการทดสอบและเริ่มมีการผลิตรถจริงในโรงงาน ขั้นตอนการทดสอบแรงดันเพื่อให้มั่นใจว่าห้องโดยสารของรถแต่ละคันจะเงียบสงบยังคงดำเนินต่อไป
“เราทดสอบแรงดันรถที่โรงงานผลิตออกมาทุกวันไม่มีเว้น” ดร.ทอมป์สัน กล่าว “เราสุ่มตัวอย่างรุ่นย่อยต่างๆ ทุกรุ่นในไลน์อัพของฟอร์ด เอเวอเรสต์ออกมาจากสายพานการผลิตเพื่อนำเข้าสู่ห้องทดสอบในโรงงาน ซึ่งเราจะทดสอบแรงดันโดยใช้เซนเซอร์ขั้นสูงในการตรวจวัดการรั่วไหลของอากาศ”
“ผลการตรวจสอบการรั่วไหลของอากาศจะถูกแสดงผลแบบเรียลไทม์ไปยังทีมงานทั้งที่โรงงานผลิตและที่ออสเตรเลียเพื่อให้แน่ใจว่าการผลิตรถฟอร์ด เอเวอเรสต์ทุกคันเป็นไปตามข้อกำหนดการออกแบบความหนาแน่นของอากาศ” ดร.ทอมป์สันกล่าว
วัสดุสำคัญในการส่งมอบความเงียบภายในห้องโดยสาร
การรังสรรค์ห้องโดยสารที่เงียบสงบไม่ได้อยู่ที่การใช้ซีลที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเท่านั้น แต่มาจากหลายองค์ประกอบ ภายใต้หัวใจสำคัญคือคุณภาพและความแม่นยำ ทีมผลิตรถยนต์ได้สรรหาและเลือกใช้วัสดุซีลคุณภาพสูงมากมายเพื่อดูดซับเสียงรบกวน ประกอบด้วย
- กาวที่ใช้ยึดแผ่นโลหะแต่ละแผ่นเข้าด้วยกัน
- แผ่นกั้นความร้อนภายในโครงสร้างรถยนต์ที่ขยายตัวและเติมเต็มช่องว่างต่างๆ ของรถ ขณะที่รถเคลื่อนตัวผ่านเตาอบสี
- ปะเก็นยางหรือคลิปที่ถูกจัดวางอย่างแม่นยำเพื่อยึดกับวัสดุด้านนอก ตั้งแต่เสาอากาศบนหลังคาไปจนถึงชุดสายไฟบนพื้นตัวถัง
“ฟอร์ดได้ออกแบบและพัฒนาวิธีการซีลรถยนต์เป็นอย่างดีในทุกขั้นตอนการผลิต เพื่อให้มั่นใจว่าห้องโดยสารของรถฟอร์ด เอเวอเรสต์จะเงียบสนิทจริงๆ” ดร.ทอมป์สัน กล่าวสรุป
วิเคราะห์ เจาะลึก ทุกข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา กับผม นิธิ ท้วมประถม
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสาร ข่าวรถยนต์ รถใหม่ สกู๊ปพิเศษ ลองขับ อย่าลืมติดตามเรา ช่องยูทูป – auto lifethailand tv
ติดต่อโฆษณา
Project Manager (คุณแอม)
โทร. 089 533 5115
Email : autolifethailand@gmail.com
หรือ Inbox ได้ทาง Facebook Fanpage https://www.facebook.com/autolifethailand.tv