DAYTONA SP3: แรงบันดาลใจจากตำนานแห่งชัยชนะของเหล่ารถสปอร์ตต้นแบบ
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ปี 1967 เฟอร์รารี่สร้างหนึ่งในความสำเร็จที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดในประวัติศาสตร์ ด้วยการคว้าอันดับ 1, 2 และ 3 จากรายการ 24 Hours of Daytona ซึ่งเป็นสนามแรกของการแข่งขัน International World Sports Car Championship ในปีนั้น รถทั้งสามคันที่รับธงหมากรุกเคียงข้างกันในสนามแข่งที่มี Ford เป็นเจ้าบ้าน ประกอบด้วยรุ่น 330 P3/4 ในตำแหน่งผู้ชนะเลิศ, 330 P4 อันดับ 2 และ 412 P ในอันดับ 3 แสดงให้เห็นถึงจุดสูงสุดของการพัฒนา เฟอร์รารี่ P3 รถซึ่งเป็นรุ่นที่ Mauro Forghieri หัวหน้าวิศวกร ได้ปรับปรุงแต่ละพื้นฐาน นั่นคือ เครื่องยนต์, ช่วงล่าง และแอโรไดนามิกส์ ของรถแข่งทั้งสามอย่างมีนัยสำคัญ 330 P3/4 ห่อหุ้มจิตวิญญาณของรถสปอร์ตต้นแบบแห่งทศวรรษ 1960 ไว้อย่างสมบูรณ์แบบ ทศวรรษนี้ถือเป็นยุคทองของการแข่งรถแบบล้อปิด (Closed Wheel) และถูกนำมาเป็นจุดอ้างอิงหลักสำหรับเหล่าวิศวกรและนักออกแบบจากรุ่นสู่รุ่นสืบมา
ชื่อของ Icona ใหม่ ถูกนำมาใช้เพื่อปลุกตำนานที่เคยคว้าชัยสามอันดับแรกให้โชติช่วงอีกครั้ง และยังเป็นการแสดงความเคารพต่อรถสปอร์ตต้นแบบของเฟอร์รารี่ ที่ช่วยให้แบรนด์โด่งดังในวงการมอเตอร์สปอร์ตอย่างไม่มีใครเทียบได้ Daytona SP3 ที่เผยโฉมเป็นครั้งแรกวันนี้ ณ Mugello Circuit ภายในงาน 2021 Ferrari Finali Mondiali เป็นรุ่นผลิตจำนวนจำกัดคันล่าสุดที่เข้าร่วมซีรีส์ Icona ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อปี 2018 ด้วยรุ่น Monza SP1 และ SP2
ดีไซน์ของ Daytona SP3 เป็นการผสมผสานอย่างลงตัวของการตัดกันในการออกแบบ, ประติมากรรมที่สง่างาม และพื้นผิวอันเย้ายวนที่ตัดไปมาด้วยเส้นสายคมกริบที่ช่วยเน้นให้เห็นถึงความใส่ใจในเรื่องอากาศพลศาสตร์แบบเดียวกับดีไซน์ที่เห็นได้จากบรรดารถแข่ง อาทิ 330 P4, 350 Can-Am และ 512 S ตัวถังแบบ ‘Targa’ พร้อมหลังคาแข็งที่ถอดออกได้ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากรถแข่งรุ่นต้นแบบเช่นกัน ดังนั้น Daytona SP3 จึงไม่เพียงมอบความเร้าใจในการขับขี่เท่านั้น แต่ยังสามารถเพลิดเพลินไปกับการใช้งานในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย
ในด้านเทคนิค Daytona SP3 นำวิศวกรรมอันสลับซับซ้อนที่เคยใช้กับรถแข่งในทศวรรษที่ 1960 มาใช้เป็นแรงบันดาลใจ: ย้อนกลับไปในช่วงเวลานั้น ประสิทธิภาพสูงสุดของรถ ได้มาจากพื้นฐาน 3 ประการที่กล่าวไปข้างต้นนั่นเอง
Daytona SP3 มาพร้อมกับเครื่องยนต์ V12 แบบไม่มีระบบอัดอากาศ วางกลางลำ ซึ่งเป็นรูปแบบพื้นฐานตามแบบฉบับของรถแข่ง แน่นอนว่าเป็นขุมพลังที่โดดเด่นที่สุดของมาราเนลโลอย่างไม่มีข้อกังขา ให้กำลังสูงสุดถึง 840 แรงม้า ทำให้กลายเป็นเครื่องยนต์ที่ทรงพลังที่สุดเท่าที่เฟอร์รารี่เคยสร้างมา ร่วมด้วยแรงบิด 694 นิวตันเมตร และรอบเครื่องสูงสุดถึง 9,500 รอบ/นาที
แชสซีส์ทั้งหมดสร้างขึ้นจากวัสดุผสม ด้วยเทคโนโลยีเดียวกับที่ใช้ในรถแข่งฟอร์มูลา 1 ซึ่งไม่เคยมีปรากฏใน road car อีกเลยนับตั้งแต่ที่เคยนำมาใช้ใน LaFerrari ซูเปอร์คาร์รุ่นสุดท้ายจากมาราเนลโล เบาะนั่งถูกรวมเป็นหนึ่งเดียวกับแชสซีส์เพื่อลดน้ำหนักและให้ได้มาซึ่งตำแหน่งการขับขี่แบบเดียวกับที่ใช้ในรถแข่งตัวจริง
และเช่นเดียวกับรถที่เป็นแรงบันดาลใจในการสร้าง Daytona SP3 การพัฒนาและออกแบบแอโรไดนามิกส์มุ่งเน้นไปยังประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการใช้ชุดแอโรแบบตายตัวเพียงอย่างเดียว ด้วยคุณสมบัติที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น ปล่องที่ดึงอากาศแรงดันต่ำออกจากใต้ท้องรถ ทำให้ Daytona SP3 เป็นรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพตามหลักอากาศพลศาสตร์มากที่สุดเท่าที่เฟอร์รารี่เคยสร้างมา โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์แอโรแบบ Active (ปรับอัตโนมัติได้) แต่อย่างใด การผสมผสานนวัตกรรมทางเทคนิคอย่างชาญฉลาดเหล่านี้ ส่งผลให้รถสามารถเร่งจากจุดหยุดนิ่งสู่ 100 กม./ชม. ได้ใน 2.85 วินาที และใช้เวลาเพียง 7.4 วินาที เท่านั้น จาก 0-200 กม./ชม. ประสิทธิภาพที่เร้าใจ, การปรับแต่งขั้นสูงสุด และซาวด์แทร็กอันไพเราะจากขุมพลัง V12 จะมอบความสุขอย่างแท้จริงในการขับขี่แบบที่ไม่มีสามารถใครเทียบได้
การออกแบบ
แม้จะใช้แรงบันดาลใจจากการออกแบบรถแข่งยุค 1960 ทว่า Daytona SP3 ก็มีภาพลักษณ์ที่แปลกใหม่และทันสมัยอย่างปฏิเสธไม่ได้ ประติมากรรมที่ดูทรงพลังนี้นำเอาเหล่ารถสปอร์ตต้นแบบในอดีตมาตีความใหม่จนได้ผลลัพธ์ที่ร่วมสมัยใหม่หมดจด การออกแบบที่แสนทะเยอทะยานนี้ ต้องใช้กลยุทธ์ที่วางแผนและดำเนินไปอย่างพิถีพิถันของ Flavio Manzoni หัวหน้าฝ่ายออกแบบ และทีมงานจาก Styling Center
ตัวถังภายนอก
ตั้งแต่กระจกหน้าที่โอบโค้งเป็นต้นไปตัวถังบริเวณห้องโดยสารของ Daytona SP3 ดูราวกับโดมที่จัดวางฝังลงไปยังประติมากรรมอันเย้ายวนร่วมด้วยซุ้มล้อหลังที่พลิ้วไสวอวดส่วนโค้งนูนสูงขึ้นมาจากมุมมองด้านข้างความสมดุลโดยรวมของรถถูกเน้นย้ำด้วยส่วนเว้าส่วนโค้งที่บึกบึนซึ่งเป็นทักษะการรังสรรค์รถตามแบบฉบับอิตาเลียนอันเป็นที่ยอมรับมายาวนานความต่อเนื่องลื่นไหลของมวลรวมหลอมเข้ากับพื้นผิวเฉียบคมได้อย่างลงตัวจนได้มาซึ่งสุนทรียะที่สมดุลกลมกลืนอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของดีไซน์จากมาราเนลโลที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น
โป่งล้อหน้านูนโค้งที่ดูสะอาดตา เป็นการยกย่องความสง่างามของประติมากรรมจากรถสปอร์ตต้นแบบในอดีตของเฟอร์รารี่ อย่างรุ่น 512 S, 712 Can-Am และ 312 P รูปทรงของซุ้มล้อช่วยสื่อความหมายแฝงของมิติด้านข้างตัวรถ ที่ส่วนหน้าของซุ้มล้อมีรูปทรงที่สร้างสัมผัสเชื่อมโยงระหว่างล้อและพื้นที่ว่างได้อย่างทรงพลัง ด้วยการใช้ความโค้งที่ไม่ได้ขนานไปตามวงล้อไปตลอดแนว ปลายของโป่งล้อที่นูนขึ้นมาจากช่วงเอวของรถที่สะโอดสะอง กำเนิดเป็นมัดกล้ามทรงพลังที่กำลังโอบล้อมล้อหน้าเอาไว้ จากนั้นจึงค่อยๆ ลาดลงไปด้านปลาย ให้มุมมองที่มีไดนามิกส์แก่ส่วนหน้าและข้างของตัวรถ
อีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญก็คือประตูแบบ Butterfly ซึ่งมีปล่องดักอากาศเพื่อระบายความร้อนให้กับหม้อน้ำที่ติดตั้งไว้ด้านข้างรวมอยู่กับบานประตูด้วยประติมากรรมดังกล่าวทำให้ประตูมีช่วงไหล่ที่เด่นชัดจากการมีช่องรับอากาศช่วยเชื่อมโยงทางสายตาตัดกับเส้นแนวตั้งของกระจกบังลมหน้าพื้นผิวที่เด่นชัดของประตูซึ่งมีสันทอดยาวไปถึงด้านหลังของซุ้มล้อหน้าทำหน้าที่จัดการกระแสลมที่ออกมาจากล้อหน้านอกจากนั้นส่วนเว้าส่วนโค้งเหล่านี้ยังช่วยให้ได้กลิ่นอายของรถรุ่นต่างๆอาทิ 512 s ที่เป็นหนึ่งในรถที่ Daytona SP3 นำมาใช้เป็นแรงบันดาลใจมาใช้ในการออกแบบอีกด้วย
กระจกมองข้างถูกย้ายจากส่วนหน้าของประตูรถมายังด้านบนของซุ้มล้อเพื่อให้ได้สไตล์แบบรถสปอร์ตต้นแบบแห่งทศวรรษที่ 1960 ตำแหน่งติดตั้งที่เลือกช่วยเพิ่มทัศนวิสัยการมองเห็นและลดผลกระทบที่เกิดจากกระจกมองข้างไปขัดขวางการไหลของกระแสอากาศไปยังปล่องที่ประตูให้น้อยลงโดยรูปทรงของฝาครอบกระจกและขายึดได้รับการออกแบบโดยเครื่องจำลอง CFD เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีอากาศไหลเข้าสู่ช่องรับลมได้อย่างต่อเนื่อง
อาจกล่าวได้ว่าส่วนท้ายของรถนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะจะเผยให้เห็นตัวตนที่แท้จริงของ Daytona SP3 ได้อย่างชัดเจนประตูรถถูกขัดเกลาจนเกิดเป็นสองระนาบเมื่อรวมกับมัดกล้ามทรงพลังของซุ้มล้อหลังจึงเกิดเป็นรูปทรงใหม่หมดจดที่ดูเย้ายวนประตูรถเป็นตัวเพิ่มพื้นที่ให้กับซุ้มล้อหน้าและทำให้เกิดความสมดุลกับซุ้มล้อหลังรูปทรงของส่วนเว้าส่วนโค้งด้านข้างเห็นได้ชัดเจนและส่งให้ห้องโดยสารดูเยื้องมาทางหน้ารถมากขึ้นตำแหน่งจัดวางหม้อน้ำบริเวณข้างตัวรถช่วยให้สามารถนำสถาปัตยกรรมนี้มาปรับใช้ได้อย่างลงตัวกับรถสปอร์ต
ด้านหน้าของ Daytona SP3 สะดุดตาด้วยโป่งล้อที่มีส่วนโค้งนูนด้านนอกและด้านในโดยส่วนโค้งด้านในจะลาดลงไปยังช่องรับอากาศทั้งสองบนฝากระโปรงช่วยให้โป่งล้อดูกว้างยิ่งขึ้นความสัมพันธ์ระหว่างพื้นผิวที่มองเห็นได้ด้วยตาซึ่งเกิดจากส่วนโค้งด้านนอกและหน้าที่ด้านอากาศพลศาสตร์ของส่วนโค้งด้านในทำให้เห็นถึงวิถีที่สไตล์กับเทคโนโลยีสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้อย่างกลมกลืนในรถคันนี้กันชนหน้ามีกระจังตรงกลางขนาดใหญ่ที่ขนาบข้างด้วยแผงที่มาพร้อมกับครีบแนวนอนเรียงซ้อนกันที่ขอบนอกของกันชนองค์ประกอบของไฟหน้ามีความเฉพาะตัวด้วยแผ่นด้านบนแบบเลื่อนเปิด-ปิดได้ที่ชวนให้หวนนึกถึงไฟหน้าแบบป๊อปอัพของซูเปอร์คาร์ยุคแรกๆซึ่งเป็นธีมที่ได้รับความนิยมของเฟอร์รารี่เสริมให้รถมีภาพลักษณ์ที่ดุดันและคงความมินิมัลทำให้รถมีรูปลักษณ์ที่ดุดันและเรียบง่ายครีบสองชิ้นที่อ้างอิงมาจาก Aeroflick (คานาร์ด: ครีบบังคับทิศทางอากาศ) ที่มีอยู่ในรุ่น 330 P4 และรถแข่งต้นแบบอีกหลายรุ่นยื่นออกมาจากขอบด้านล่างของไฟหน้าช่วยเพิ่มความดุดันให้กับด้านหน้าของรถ
ตัวถังส่วนหลังมีการขับรูปลักษณ์อันทรงพลังของโป่งล้อด้วยการใช้ธีมส่วนโค้งคู่เช่นเดียวกับล้อหน้าร่วมด้วยช่องระบายอากาศที่ช่วยเพิ่มมุมมองแบบสามมิติขึ้นอีกขั้นห้องโดยสารขนาดกะทัดรัดและลาดเอียงผสานเข้ากับโป่งทั้งสองจนได้ท้ายรถที่ดูทรงพลังพร้อมองค์ประกอบแบบโครงสันหลังที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก 330 P4 โดยมีขุมพลัง V12 แบบไม่มีระบบอัดอากาศอันเป็นหัวใจที่เต้นอย่างมีชีวิตชีวาของเฟอร์รารี่ Icona อวดความตระการตาอยู่ที่ปลายสุดของโครงสันหลังนี้
ชุดครีบเรียงอากาศแนวนอนช่วยเติมเต็มส่วนท้ายของรถทำให้ได้มาซึ่งรูปโฉมที่ดูดุดันและหนักแน่นกำยำส่งให้ Daytona SP3 ทั้งสะท้อนความล้ำยุคและเอกลักษณ์ที่ชัดเจนของ DNA จากเฟอร์รารี่ได้ในเวลาเดียวกันชุดไฟท้ายเป็นแถบไฟแนวนอนติดตั้งไว้ใต้สปอยเลอร์และรวมเป็นชิ้นเดียวกับครีบแนวนอนเส้นแรกอย่างกลมกลืนปลายท่อไอเสียคู่ติดตั้งไว้ตรงกลางเหนือส่วนบนของดิฟฟิวเซอร์เพิ่มบุคลิกที่ดุดันและเติมเต็มดีไซน์ทำให้รถดูกว้างยิ่งขึ้น
ห้องโดยสาร
แม้กระทั่งในค็อกพิตของ Daytona SP3 ก็ได้แรงบันดาลใจมาจากเฟอร์รารี่ในตำนานอย่างเช่น 330 P3/4, 312 P และ 350 Can-Am เช่นกัน จากจุดเริ่มต้นที่ไอเดียการใช้แชสซีส์ประสิทธิภาพสูง เหล่านักออกแบบได้สร้างพื้นที่ที่ได้รับการขัดเกลาอย่างพิถีพิถันเพื่อมอบความสะดวกสบายและสามารถใช้งานได้ครอบคลุมของรถ Grand Tourer ที่ทันสมัย ในขณะที่ยังคงไว้ซึ่งภาษาการออกแบบที่ค่อนข้างเรียบง่าย ห้องโดยสารมีปรัชญาที่แฝงอยู่เบื้องหลังการตกแต่ง ตัวอย่างเช่น แดชบอร์ดที่มินิมัลและใช้งานได้จริง แต่ยังให้ความรู้สึกร่วมสมัยได้อย่างชัดเจน เบาะรองนั่งที่ปกติจะถูกบุเข้ากับแชสซีส์โดยตรงของรถแข่งต้นแบบ ได้รับการปรับให้เป็นเบาะนั่งที่รวมเป็นส่วนหนึ่งของตัวถังรถ ทำให้เกิดความต่อเนื่องของพื้นผิวกับชิ้นส่วนตกแต่งโดยรอบอย่างเรียบเนียนไร้รอยต่อ
องค์ประกอบอื่นๆของตัวถังภายนอกซึ่งรวมไปถึงกระจกหน้าส่งผลในทางบวกต่อการออกแบบภายในเมื่อมองจากด้านข้างจะเห็นส่วนตัดจากด้านบนของกรอบกระจกหน้าทำให้เกิดเป็นระนาบแนวตั้งที่แยกค็อกพิตออกเป็นสองส่วนแบ่งพื้นที่ของแดชบอร์ดที่ติดตั้งมาตรวัดต่างๆออกจากส่วนเบาะนั่งสถาปัตยกรรมนี้บรรลุผลสำเร็จอันยากลำบากในการให้ทั้งความสปอร์ตแบบสุดขีดและให้ความสง่างามได้ในเวลาเดียวกัน
จุดมุ่งหมายของห้องโดยสารใน Daytona SP3 คือเพื่อรับประกันว่าทั้งคนขับและผู้โดยสารจะมีสภาพแวดล้อมในการขับขี่ที่สะดวกสบายโดยนำพื้นฐานของรถแข่งมาปรับใช้แนวคิดหลักคือการขยายห้องโดยสารให้กว้างขึ้นด้วยการสร้างช่องว่างที่ชัดเจนระหว่างบริเวณแดชบอร์ดและเบาะนั่งทั้งสองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นผิวที่ต่อเนื่องไร้รอยต่อวัสดุแบบเดียวกับที่ใช้หุ้มเบาะถูกนำไปใช้ตลอดแนวจนถึงแผงประตูเพื่อจำลองความสง่างามตามแบบฉบับของรถสปอร์ตต้นแบบนอกจากนั้นยังสามารถเห็นวัสดุเดียวกันนี้ที่บริเวณธรณีประตูเมื่อเปิดประตูอีกด้วย
แดชบอร์ดก็ยึดหลักปรัชญาเดียวกันใน Daytona SP3 ส่วนตกแต่งนั้นขยายไปถึงมุมกระจกหน้าโดยครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดที่เชื่อมต่อกับกระจกหน้ารถแดชบอร์ดที่เพรียวบางและกว้างเต็มพื้นที่ดูราวกับลอยตัวอยู่เหนือชิ้นส่วนโดยรอบมีการตกแต่งแยกเป็น 2 ระดับคือการตกแต่งที่ส่วนบนซึ่งสะอาดตาและวิจิตรงดงามแยกออกจากส่วนล่างด้วยเส้นแบ่งพื้นผิวที่ชัดเจนและใช้งานได้จริงระบบควบคุมด้วยการสัมผัสของ Human-Machine Interface (HMI) ถูกจัดรวมไว้ที่ส่วนล่างนี้เช่นกัน
เบาะนั่งถูกรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับแชสซีส์และออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์แบบเดียวกับรถยนต์สมรรถนะสูงทว่ายังมีรายละเอียดสุดพิถีพิถันที่ทำให้ดูแตกต่างออกไปพื้นผิวที่เชื่อมต่อระหว่างเบาะนั่งและส่วนต่อขยายของธีมไปยังพื้นที่ที่อยู่ติดกันรวมทั้งปริมาตรโดยรวมในห้องโดยสารสามารถทำได้เนื่องจากเบาะเป็นแบบ Fixed (ปรับเลื่อนไม่ได้) ในขณะที่คนขับจะปรับตำแหน่งการขับขี่ให้เหมาะสมได้ด้วยการเลื่อนชุดแป้นเหยียบ (คันเร่ง, เบรก) ช่องว่างที่ชัดเจนระหว่างพื้นที่ทางเทคนิคของผู้ขับกับพื้นที่ผู้โดยสารยังช่วยให้สามารถขยายเบาะนั่งออกไปตลอดแนวของพื้นรถได้แม้กระทั่งพนักพิงศีรษะก็ยังอ้างอิงมาจากสายพันธุ์รถแข่งแต่ในขณะที่ของรถแข่งเป็นแบบติดตั้งรวมอยู่กับเบาะพนักพิงศีรษะของ Daytona SP3 จะเป็นแบบแยกชิ้นออกมาเบาะนั่งแบบฟิกซ์และชุดแป้นเหยียบที่ปรับเลื่อนตำแหน่งได้ทำให้ทั้งสองส่วนนี้สามารถติดตั้งไว้ที่ส่วนหลังของห้องโดยสารจึงช่วยให้ห้องโดยสารดูโปร่งโล่งยิ่งขึ้น
ดีไซน์ของแผงประตูก็ช่วยให้ค็อกพิตดูกว้างขึ้นเช่นกันพื้นที่บางส่วนตกแต่งเพิ่มเติมด้วยคาร์บอนไฟเบอร์มีการหุ้มด้วยหนังแท้บนแผงประตูบริเวณช่วงไหล่ช่วยเชื่อมโยงความรู้สึกแบบรถแข่งเข้ากับเอฟเฟคต์ที่โอบล้อมรอบตัวได้เป็นอย่างดีต่ำลงมาเป็นพื้นผิวที่ให้สัมผัสเหมือนเป็นส่วนขยายเพิ่มเติมของเบาะนั่งอุโมงค์เกียร์มีครีบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวติดตั้งไว้บริเวณชิ้นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างเบาะทั้งสองจัดเป็นองค์ประกอบที่สุดขั้วมากๆชิ้นหนึ่งพื้นที่ส่วนหน้าคือร่องเกียร์แบบเดียวกับที่เปิดตัวครั้งแรกไปในรุ่น SF90 Stradale อย่างไรก็ตามในรถคันนี้ชุดคันเกียร์ได้ปรับให้สูงขึ้นจนรู้สึกราวกับลอยอยู่เหนือชิ้นส่วนอื่นรอบๆปิดท้ายด้วยเสากลางที่ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ซึ่งทำให้ดูเหมือนรองรับแดชบอร์ดทั้งหมดเอาไว้
ระบบขับเคลื่อน
เพื่อให้ Daytona SP3 เป็นยนตรกรรม V12 ที่เร้าใจที่สุด เฟอร์รารี่จึงเลือกเครื่องยนต์ของ 812 Competizione เป็นจุดเริ่มต้น แต่ได้ย้ายไปยังตำแหน่งวางกลางด้านหลัง เพื่อเอื้อให้สามารถปรับรูปแบบทางเดินไอดีและไอเสีย ตลอดจนประสิทธิภาพการไหลเวียนต่างๆ ได้เหมาะสมที่สุด ผลลัพธ์ที่ได้คือขุมพลัง F140HC ที่ทรงพลังที่สุดในกลุ่มเครื่องยนต์สันดาปภายในที่เฟอร์รารี่เคยสร้างขึ้นมา ให้กำลังมหาศาลถึง 840 แรงม้า ร่วมด้วยเสียงคำรามที่น่าประทับใจและทรงพลังตามแบบฉบับของม้าลำพอง V12
เครื่องยนต์เป็นแบบสูบวีทำมุม 65 องศาระหว่างกันและยังคงความจุ 6.5 ลิตรเอาไว้เช่นเดียวกับขุมพลังรหัส F140HB เครือญาติของมันที่ใช้อยู่ในรุ่นอัพเกรดพิเศษ 812 Competizione การพัฒนาต่างๆช่วยเพิ่มสมรรถนะของระบบขับเคลื่อนจนกลายเป็นมาตรฐานใหม่ในรถกุล่มนี้ต้องขอบคุณซาวด์แทร็คอันน่าอัศจรรย์ซึ่งได้มาจากการทำงานร่วมกันของทั้งฝั่งไอดีและไอเสียรวมถึงเกียร์ 7 จังหวะซึ่งสามารถเปลี่ยนเกียร์ได้ฉับไวขึ้นและเป็นไปตามสั่งอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนจากการมุ่งมั่นพัฒนาส่วนนี้โดยเฉพาะ
รอบเครื่องสูงสุดอยู่ที่ 9,500 รอบ/นาทีและแรงบิดที่เพิ่มสูงขึ้นได้อย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงรอบสูงสุดส่งผลให้ผู้โดยสารทั้งสองสัมผัสได้ถึงอัตราเร่งและพละกำลังอันไร้ขีดจำกัดมีการให้ความใส่ใจเป็นพิเศษในเรื่องของการลดน้ำหนักและแรงเฉื่อยของเครื่องยนต์ด้วยการใช้ก้านสูบไทเทเนียมซึ่งเบากว่าเหล็กถึง 40 เปอร์เซ็นต์และใช้ลูกสูบที่ผลิตจากวัสดุที่แตกต่างไปจากเดิมสลักลูกสูบแบบใหม่เคลือบด้วย DLC (Diamond Like Carbon) ที่จะช่วยลดแรงเสียดทานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเพลาข้อเหวี่ยงได้รับการถ่วงสมดุลใหม่และยังมีน้ำหนักเบากว่าเดิม 3 เปอร์เซ็นต์อีกด้วย
การเปิดและปิดวาล์วใช้ตัวกดวาล์วแบบสไลด์ที่นำมาจากรถแข่ง F1 และพัฒนาขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อลดมวลและใช้ประโยชน์จากแคมชาฟต์ที่มีโพรไฟล์สูงกว่าเดิมได้มากขึ้นกระเดื่องกดวาล์วแบบสไลด์ก็ถูกเคลือบด้วย DLC และหน้าที่ของมันคือส่งผ่านการทำงานของแคมชาฟต์ (ที่เคลือบด้วย DLC เช่นกัน) ไปยังวาล์วโดยใช้ลูกกระทุ้งวาล์วแบบไฮดรอลิกแทนเดือยในการเคลื่อนตัว
ระบบไอดีได้รับการออกแบบใหม่ขนานใหญ่ท่อร่วมไอดีและท่อนำอากาศมีขนาดกะทัดรัดกว่าเดิมเพื่อลดความยาวโดยรวมของท่อทางเดินและส่งมอบพละกำลังที่รอบสูงในขณะที่แรงบิดมีมากขึ้นในทุกความเร็วรอบจากระบบท่อทางเดินแบบแปรผันระบบจะปรับความยาวของชุดท่อให้เหมาะสมได้อย่างต่อเนื่องโดยเปลี่ยนไปตามจังหวะการจุดระเบิดของเครื่องยนต์เพื่อเพิ่มการประจุไอดีเข้าไปในกระบอกสูบให้มีประสิทธิภาพสูงสุดระบบไฮดรอลิกที่ใช้ควบคุมแอคทูเอเตอร์ถูกบริหารจัดการโดย ECU ระบบปิดปรับความยาวของท่อโดยใช้พื้นฐานข้อมูลจากโหลดของเครื่องยนต์
เมื่อทำงานร่วมกับแคมชาฟต์ที่ปรับองศาใหม่ระบบวาล์วแปรผันจะสร้างแรงดันสูงสุดตามความจำเป็นเพื่อให้ได้พลังในรอบสูงโดยไม่ไปลดทอนแรงบิดที่รอบต่ำและกลางผลลัพธ์ที่ได้คือสัมผัสที่ต่อเนื่อง, อัตราเร่งฉับไวและได้พละกำลังอันน่าอัศจรรย์ที่รอบเครื่องสูงสุด
ระบบบริหารจัดการการจ่ายเชื้อเพลิงเบนซินแบบฉีดตรง (GDI – Gasoline Direct Injection ที่ 350 บาร์) ได้รับการพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นปัจจุบันประกอบด้วยปั๊มเชื้อเพลิง 2 ชุด, รางหัวฉีด 4 รางพร้อมเซ็นเซอร์วัดแรงดันซึ่งจะรายงานผลไปยังระบบควบคุมแรงดันแบบปิดและหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์นอกเหนือจากการเพิ่มแรงดันในการฉีดแล้วยังมีการปรับจังหวะการฉีดและปริมาณของเชื้อเพลิงที่จะจ่ายไปยังแต่ละหัวฉีดทำให้สามารถลดการปล่อยมลพิษและการก่อตัวของอนุภาคลงได้ 30% (WLTC cycle) เมื่อเทียบกับ 812 Superfast
ระบบจุดระเบิดได้รับการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องด้วย ECU (ION 3.1) ซึ่งมีระบบตรวจจับไอออนที่จะวัดกระแสไอออนไนซ์เพื่อควบคุมจังหวะการจุดระเบิดและยังมีฟังก์ชั่นสั่งการจุดระเบิดของหัวเทียนแบบครั้งเดียวและหลายครั้งเมื่อต้องการจุดระเบิดส่วนผสมของอากาศและน้ำมันเพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานอย่างนุ่มนวลและเกิดเป็นพลังงานที่สะอาดนอกจากนั้น ECU ยังควบคุมแรงอัดในห้องเผาไหม้เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องยนต์จะทำงานอยู่ในช่วงอุณหภูมิที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดเสมอต้องขอบคุณระบบที่ซับซ้อนเพื่อระบุค่าออกเทนของน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีอยู่ในถังน้ำมัน
ปั๊มน้ำมันเครื่องแบบแปรผันรุ่นใหม่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถควบคุมแรงดันน้ำมันได้อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงการทำงานทั้งหมดของเครื่องยนต์วาล์วโซลินอยด์ควบคุมโดย ECU ของเครื่องยนต์ในวงจรระบบปิดใช้เพื่อควบคุมการแปรผันของปั๊มทั้งในแง่ของการไหลและแรงดันโดยส่งเฉพาะปริมาณน้ำมันเครื่องที่จำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องยนต์จะทำงานได้อย่างเสถียรตลอดเวลาจุดที่สำคัญก็คือเพื่อลดการเสียดสีและเพิ่มสมรรถนะเชิงกลจึงใช้น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดน้อยกว่าปกตติที่เคยใช้ในเครื่องยนต์ V12 รุ่นก่อนและท่อทางเดินน้ำมันทั้งหมดยังได้รับการออกแบบให้วิ่งผ่านตัวเครื่องยนต์ได้อย่างทั่วถึงมากขึ้นเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิม
สถาปัตยกรรม
เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ขับ Daytona SP3 จะรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับรถ งานวิศวกรรมจึงนำความเชี่ยวชาญด้านสรีรศาสตร์ที่มาราเนลโลได้พัฒนาขึ้นสำหรับรถแข่ง F1 มาใช้ แชสซ์ที่ใช้ส่วนหนึ่งเป็นเบาะนั่งหมายถึงตำแหน่งการขับขี่จะต่ำกว่าและอยู่ในท่าที่เอนนอนมากกว่าในรถยนต์เฟอร์รารี่รุ่นใดๆ ข้อเท็จจริงก็คือ ตำแหน่งการนั่งนั้นคล้ายคลึงกับรถแข่งที่นั่งเดี่ยวมากๆ วิธีนี้ช่วยลดน้ำหนักและทำให้รถมีความสูงเพียง 1,142 มม. ซึ่งก็คือ ช่วยลดแรงต้านอากาศไปในตัว ชุดแป้นเหยียบแบบปรับเลื่อนจะช่วยให้ผู้ขับได้ตำแหน่งการนั่งที่รู้สึกพอเหมาะกับตัวเองที่สุด
พวงมาลัยของ Daytona SP3 มีระบบ Human-Machine Interface (HMI) เช่นเดียวกับที่มีอยู่ใน SF90 Stradale, เฟอร์รารี่ Roma, SF90 Spider และ 296 GTB สืบสานปรัชญา “มือบนพวงมาลัย, สายตาบนถนน” ของเฟอร์รารี่ต่อไปชุดควบคุมแบบสัมผัส (Touch Control) ช่วยให้ผู้ขับสามารถควบคุมการทำงานต่างๆของ Daytona SP3 ได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์โดยไม่ต้องละมือออกจากพวงมาลัยขณะที่จอมาตรวัดทรงโค้งขนาด 16 นิ้วแบบความละเอียดสูงสามารถแสดงข้อมูลเกี่ยวกับการขับขี่ได้แบบทันทีทันใด
ทั้งแชสซีส์และตัวถังของ Daytona SP3 ล้วนผลิตขึ้นจากวัสดุผสมซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่นำมาจากรถแข่ง F1 โดยตรงมอบน้ำหนักที่เบาและมีอัตราส่วนความแข็งแรง/น้ำหนักโครงสร้างอันน่าทึ่งมีการลดจุดศูนย์ถ่วงให้ต่ำลงและใช้โครงสร้างที่กะทัดรัดตลอดจนส่วนประกอบหลายอย่างอาทิโครงสร้างเบาะนั่งที่รวมเข้ากับแชสซีส์ก็เพื่อตัดน้ำหนักของรถให้เหลือน้อยที่สุด
มีการใช้วัสดุคอมโพสิตสำหรับอากาศยานซึ่งรวมถึงคาร์บอนไฟเบอร์ T800 สำหรับห้องโดยสารซึ่งวางผ้าคาร์บอนไฟเบอร์ด้วยมือเพื่อให้มั่นใจว่าจะได้ปริมาณเส้นใยที่ถูกต้องสำหรับแต่ละพื้นที่คาร์บอนไฟเบอร์ T-1000 ถูกนำมาใช้กับประตูและธรณีประตูเพื่อปกป้องค็อกพิตหากเกิดการชนจากด้านข้างใช้เคฟลาร์ในบริเวณที่มีโอกาสรับแรงกระแทกเนื่องจากมันมีคุณสมบัติที่มีความทนทานสูงใช้การอบใน Autoclave เทคนิคเดียวกับในรถแข่งฟอร์มูล่า 1 โดยแบ่งเป็น 2 เฟสที่ 130 และ 150 องศาเซลเซียสชิ้นส่วนเหล่านี้จะถูกใส่ไว้ในถุงสูญญากาศเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดบนชิ้นงาน
ใช้ยางที่กำหนดขึ้นจากการพัฒนาร่วมกับ Pirelli สำหรับ Daytona SP3 โดยเฉพาะ: ยางรุ่น P Zero Corsa มีประสิทธิภาพดีขึ้นทั้งบนถนนแห้งและเปียกด้วยการโฟกัสไปยังความเสถียรของรถในสภาวะที่มีแรงยึดเกาะต่ำ Icona รุ่นใหม่ยังมาพร้อมกับระบบ SSC เวอร์ชั่น 6.1 ของเฟอร์รารี่ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรถแบบ V12 วางกลางลำที่ใช้เวอร์ชั่นนี้นชนอกจากนั้นยังมีระบบ FDE (Ferrari Dynamic Enhancer) เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าโค้งระบบควบคุมไดนามิกส์ตามแนวแรงด้านข้างนี้จะจัดการกับแรงดันน้ำมันเบรกของคาลิเปอร์เพื่อควบคุมมุมเหวี่ยง (Yaw Angle) ของรถเมื่อกำลังขับขี่อยู่บนขีดจำกัดสูงสุดสามารถเปิดใช้งานได้ที่โหมด ‘Race’ และ ‘CT-Off’ ผ่านสวิตช์ Manettino
การใช้โครงสร้างตัวถังแบบเครื่องยนต์วางกลางลำด้านหลังและแชสซีส์คอมโพสิตช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายน้ำหนักระหว่างเพลาโดยมุ่งเน้นที่มวลรอบๆจุดศูนย์ถ่วงด้วยวิธีนี้ร่วมกับการปรับแต่งเครื่องยนต์จึงได้มาซึ่งการทำลายสถิติอัตราส่วนน้ำหนัก/แรงม้าและการทำอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ตลอดจน 0-200 กม./ชม.
อากาศพลศาสตร์
วัตถุประสงค์ของ Daytona SP3 คือการนำเสนอแอโรไดนามิกที่จะทำให้เฟอร์รารี่คันนี้เป็นรถที่ใช้ชุดแอโรตายตัว (ปรับไม่ได้) ที่มีประสิทธิภาพด้านอากาศพลศาสตร์ในระดับสูงสุดอย่างไม่เคยมีมาก่อน สิ่งนี้ต้องใช้ความเอาใจใส่ในรายละเอียดอย่างรอบคอบยิ่งขึ้น เมื่อต้องออกแบบให้การกระจายความร้อนมีประสิทธิภาพที่ดีด้วย การจัดการกระแสลมร้อนจึงมีความสำคัญต่อการกำหนดเลย์เอาต์ที่ต้องผสานกับแอโรไดนามิกโดยรวมให้ได้มากที่สุด
พละกำลังที่เพิ่มขึ้นของเครื่องยนต์รหัส F140HC หมายถึงการเพิ่มขึ้นของพลังงานความร้อนที่จะกระจายออกไปจึงต้องเพิ่มปริมาณสารหล่อเย็นทำให้มีมวลเพิ่มขึ้นตามไปด้วยเพื่อแก้ปัญหาอากาศพลศาสตร์ส่วนหน้าของรถการมุ่งเน้นที่การพัฒนาประสิทธิภาพการระบายความร้อนจึงต้องมาเป็นอันดับแรกและเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดดังนั้นงานออกแบบที่เต็มไปด้วยรายละเอียดมากมายจึงไปตกอยู่ที่ชุดของพัดลมระบายอากาศมีการใช้ช่องเปิดบริเวณใต้ท้องรถเพื่อไล่ลมร้อนออกไปและใช้ท่อดักอากาศซึ่งทั้งหมดได้รับการปรับปรุงใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มขนาดหม้อน้ำด้านหน้า
การวิจัยส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปยังดีไซน์ด้านข้างตัวถังซึ่งมีจุดได้เปรียบจากการจัดวางแผงระบายความร้อนของน้ำมันเกียร์และน้ำมันเครื่องที่ย้ายมาติดตั้งไว้กึ่งกลางของรถ
การวิจัยจำนวนมากได้นำไปสู่การออกแบบปีกข้างซึ่งได้ประโยชน์จากการจัดวางมวลที่แผ่กระจายของกระปุกเกียร์และน้ำมันเครื่องไปที่ศูนย์กลางของรถวิธีนี้ช่วยให้สามารถรวมช่องด้านข้างเข้าเป็นชิ้นเดียวกับประตูรถได้จึงย้ายปล่องดักอากาศของแผงระบายความร้อนในแชสซีส์มาด้านหน้าได้มากขึ้นด้วยเหตุนี้โป่งซุ้มล้อจึงกลายเป็นพื้นที่สำหรับช่องดักอากาศที่รับลมเข้ามาระบายความร้อนหม้อน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถมองเห็นการผสานรวมฟังก์ชั่นของแอโรไดนามิกระดับสูงเข้ากับการออกแบบได้อย่างชัดเจนจากฝาครอบเครื่องยนต์ซึ่งมีโครงสร้างแบบโครงสันหลังเพื่อส่งอากาศบริสุทธิ์เข้าสู่ไอดีของเครื่องยนต์ตลอดจนระบายอากาศร้อนออกไปจากห้องเครื่องปล่องดักอากาศจะอยู่บริเวณส่วนฐานของโครงสันหลังเพื่อลดระยะทางเดินของอากาศสู่แผ่นกรองและทำให้มีการสูญเสียมวลอากาศระหว่างทางน้อยลงร่องตามยาวที่แยกส่วนโครงสันหลังออกจากตัวถังด้านหลังแบบชิ้นเดียวช่วยระบายความร้อนของเครื่องยนต์และกักเก็บอากาศเย็นโดยทำงานร่วมกับช่องระบายอากาศที่อยู่ระหว่างครีบบนกันชนหลัง
เลย์เอาต์ที่นำมาใช้สำหรับจัดการการระบายความร้อนทำให้เกิดพื้นที่ที่ทีมอากาศพลศาสตร์สามารถใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมให้กับรถได้โดยมุ่งเน้นที่การผสมผสานระหว่างปริมาตรและพื้นผิวให้สมบูรณ์แบบและใช้แนวคิดใหม่กับช่วงล่างที่ทำงานประสานกับตัวถังส่วนบนโดยไม่จำเป็นต้องใช้ชุดแอโรแบบแอคทีฟ
ด้านหน้าของ Daytona SP3 เป็นการผสมผสานระหว่างรูปแบบและการใช้งานที่กลมกลืนลงตัวแต่ละฝั่งของกระจังส่วนกลางสำหรับหม้อน้ำเป็นช่องรับลมเข้าไปยังระบบเบรกและช่องที่ระบายอากาศออกไปยังทางออกทั้งสองฝั่งของฝากระโปรงหน้าเพื่อสร้างลมที่ก่อให้เกิดดาวน์ฟอร์ซด้านหน้าใต้ชุดไฟหน้าคือครีบสำหรับเพิ่มดาวน์ฟอร์ซเช่นกันครีบที่เรียงซ้อนกันในแนวตั้งภายในมุมของกันชนจะนำกระแสลมเข้าสู่ซุ้มล้อทำให้เกิดการไหลที่ช่วยลดแรงต้านด้วยการปรับทิศทางอากาศไปตามด้านข้างของรถและยังช่วยลดความปั่นป่วนที่เกิดจากการหมุนของล้ออีกด้วย
รูปทรงโค้งมนของกันชนหน้าไม่ใช่องค์ประกอบเดียวที่ควบคุมการไหลอากาศตามแนวด้านข้างตัวถังเพื่อลดแรงต้านแต่รูปทรงของก้านล้อและดีไซน์แนวตั้งบริเวณด้านข้างรถก็มีส่วนช่วยเช่นกันโดยกันชนหน้าจะช่วยเพิ่มแรงดูดอากาศออกจากซุ้มล้อและจัดเรียงกระแสที่จะไหลไปยังด้านข้างพื้นที่อันกว้างขวางของดีไซน์แนวตั้งด้านข้างจะทำหน้าที่ตรึงอากาศที่ออกมาจากล้อให้อยู่ใกล้กับพื้นผิวตัวถังเพื่อลดขนาดแนวตามขวางของอากาศที่จะทำให้เกิดแรงต้านลงและดีไซน์นี้ยังซ่อนแอร์โรที่จะแยกการลำเลียงอากาศจากซุ้มล้อหน้าไปยังช่องระบายอากาศที่อยู่บริเวณด้านหน้าของล้อหลังอีกด้วยวิธีนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของทั้งแรงกดและแรงต้านใต้ท้องรถได้ดียิ่งขึ้น
การวิจัยพัฒนาบริเวณใต้ท้องรถถูกออกแบบขึ้นเพื่อเพิ่มสมรรถนะส่วนล่างทั้งหมดของรถด้วยการใช้ชุดอุปกรณ์ที่ทำให้กับเกิดการจัดเรียงกระแสอากาศแบบเฉพาะจุดที่สำคัญก็คือการลดความสูงของใต้ท้องรถซึ่งหมายถึงการย้ายตำแหน่งดูดอากาศเข้าไปใกล้กับพื้นถนนยิ่งขึ้นเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับอุปกรณ์โดยใช้ข้อได้เปรียบของเอฟเฟคต์ที่เกิดขึ้นส่วนโค้งสองคู่ที่อยู่ก่อนถึงล้อคู่หน้ามีมุมสัมพัทธ์กับกระแสลมเพื่อสร้างอากาศที่ทรงพลังและเสถียรซึ่งจะโต้ตอบกับใต้ท้องรถและล้อหน้าเพื่อเพิ่มแรงกดและลดแรงต้าน
ตัวสร้างกระแสอากาศอื่นๆได้รับการปรับและจัดวางให้เหมาะสมเพื่อปิดผนึกส่วนล่างของใต้ท้องรถด้านหน้าได้เต็มพื้นที่ตัวเรียงอากาศด้านนอกติดตั้งไว้ที่ขอบของแชสซีบริเวณโพรงของซุ้มล้อด้านในและให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกับแผ่นเรียงอากาศด้านข้างของรถแข่งฟอร์มูล่า 1 กระแสอากาศที่สร้างเกราะป้องกันส่วนล่างของตัวถังจากผลกระทบของอากาศที่ส่งมาจากล้อหน้าจึงช่วยลดการรบกวนด้วยการไหลของอากาศซึ่งเกิดจากส่วนกลางของใต้ท้องรถได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สปอยเลอร์หลังคือจุดที่มีความสำคัญสูงสุดในการพัฒนาพื้นที่ของดาวน์ฟอร์ซเพื่อให้ได้สมดุลแรงกดระหว่างด้านหน้าและด้านหลังที่ถูกต้องทีมวิศวกรจึงใช้ความได้เปรียบจากการปรับตำแหน่งช่องรับอากาศของเครื่องยนต์และไฟท้ายที่ได้รับการดีไซน์ใหม่ทั้งสองสิ่งนี้ช่วยให้สามารถขยายความกว้างของสปอยเลอร์ออกไปด้านข้างได้เต็มพื้นที่ของรถไม่เพียงพื้นผิวเท่านั้นที่เพิ่มขึ้นทว่าขอบของสปอยเลอร์ก็มีความยาวขยายออกไปด้านหลังจึงช่วยเพิ่มดาวน์ฟอร์ซยิ่งขึ้นโดยปราศจากแรงต้านใดๆ
นวัตกรรมที่ล้ำสมัยและลักษณะเฉพาะของรถสามารถเห็นได้ที่ส่วนท้ายของใต้ท้องรถ: ปล่องบริเวณพื้นรถจะเชื่อมต่อกับบานเกล็ดระบายอากาศที่เป็นส่วนหนึ่งของซุ้มล้อหลังผ่านช่องดักอากาศแนวตั้งแรงดูดตามธรรมชาติที่เกิดจากความโค้งของโป่งล้อช่วยเพิ่มการไหลเวียนอากาศผ่านปล่องและสร้างการเชื่อมโยงแบบไดนามิกต่อการไหลระหว่างกระแสอากาศใต้ท้องรถและด้านบนของตัวถังฟีเจอร์นี้นำมาซึ่งข้อได้เปรียบ 3 ประการ: ประการแรกคือลดแรงต้านของใต้ท้องรถจากการไหลเวียนบริเวณใต้ท้องรถด้านหน้าที่เพิ่มขึ้น, เพิ่มแรงกดและทำให้สมดุลของแอโรขยับมาด้านหน้ายิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มความเฉียบคมขณะหักเลี้ยวประการที่สองการไหลของอากาศที่มีอัตราเร่งเพิ่มขึ้นซึ่งเกิดจากรูปทรงของท่อดักอากาศที่พื้นรถที่ทำให้เกิดแรงดูดที่สูงมากจึงช่วยเพิ่มแรงกดให้กับท้ายรถตามไปด้วยและประการสุดท้ายสปอยเลอร์หลังได้รับประโยชน์จากการไหลของอากาศที่ถูกปล่อยออกมาจากบานเกล็ดบนโป่งล้อ
พื้นที่สุดท้ายที่ได้รับการพัฒนาคือการขยายปริมาตรของดิฟฟิวเซอร์ทั้งในแนวตั้งและแนวนอนต้องยกความดีความชอบให้กับการติดตั้งท่อไอเสียไว้ส่วนกลางด้านบนของดิฟฟิวเซอร์จึงพื้นที่ว่างเหลือมากพอให้ใช้ดิฟฟิวเซอร์แบบคู่โดยหลักการแล้วดิฟฟิวเซอร์จะเปิดทางให้กระแสอากาศแผ่ออกมาเป็นสองระดับเกิดเป็นรูปทรงโค้งแบบสะพานที่ดูราวกับลอยตัวแยกออกมาจากท้ายรถแนวคิดคือการนำพลังงานระดับสูงที่เกิดจากพื้นที่บริเวณส่วนกลางของกระแสอากาศมาทำให้อากาศไหลเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งภายในและภายนอกโครงสร้าง ‘สะพาน’ ที่อยู่ตรงกลางนั่นหมายถึงอากาศที่ไหลผ่านรอบๆพื้นที่ส่วนกลางจะให้พลังงานแต่ละฝั่งจึงเพิ่มประสิทธิภาพให้กับดิฟฟิวเซอร์ในภาพรวมนั่นเอง
Daytona SP3 มีกระจกหน้าที่โอบโค้งโดยแผ่นกระจกมีความกว้างเต็มพื้นที่ไปจนถึงขอบของชิ้นส่วนหลังคาที่ถอดออกได้ตัวประสานถูกรวมเข้ากับซีลด้านบนเพื่อบังคับทิศทางการไหลของอากาศให้ผ่านไปยังรางส่วนบนอย่างแม่นยำเมื่อขับรถโดยไม่มีหลังคาบริเวณส่วนกลางของเสาหลังคาจะเทลงมาตามรูปร่างของตัวถังด้านหลังและฝาครอบเครื่องยนต์จึงช่วยลดโอกาสที่อากาศจะย้อนกลับไปทางด้านหลังส่วนบนของห้องโดยสารและพลิกกลับเข้าไปในพื้นที่ระหว่างเบาะนั่งการไหลของอากาศบริเวณส่วนหลังของกระจกหน้าต่างจะถูกแยกออกไปด้วยชิ้นส่วนที่อยู่ถัดจากพนักพิงศีรษะไปยังช่องส่วนกลางที่ครอบไว้ด้วยตัวกันลมเพื่อบังคับให้อากาศระบายออกไปจากค็อกพิต
FERRARI ICONA
ซีรีส์ Icona ของเฟอร์รารี่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2018 ด้วยรุ่น Monza SP1 และ SP2 ยนตรกรรมซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากเหล่ารถแข่งแบบ Barchetta (ไม่มีหลังคา) ยุค 1950 ซึ่งทำให้แบรนด์มีชื่อเสียงระดับตำนานในวงการมอเตอร์สปอร์ตจากชัยชนะอันทรงเกียรติมากมาย ซีรีส์ Icona คือการเฉลิมฉลองประวัติศาสตร์ของเฟอร์รารี่นำสไตล์ที่เหนือกาลเวลาของรถยนต์อันโดดเด่นที่สุดของแบรนด์นี้มาตีความใหม่ ให้เป็นรูปลักษณ์ที่ทันสมัยสุดขีดโดยใช้วัสดุและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยที่สุด เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน
แนวคิดในการรับแรงบันดาลใจจากช่วงเวลาสำคัญๆในประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นแก่นแท้ของแนวคิด Icona เป็นยิ่งกว่าการนำเอาสไตล์ในอดีตมาใช้ซ้ำจุดมุ่งหมายคือการกลั่นกรองแก่นแท้ของยุคสมัยนั้นๆและใช้เป็นปัจจัยเพื่อสร้างแนวคิดใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากพอที่จะกลายเป็นไอคอนสำหรับคนรุ่นต่อไปในอนาคตรถ Icona ทุกรุ่นมีความพิเศษที่ไม่มีให้เห็นในรถรุ่นปกติมุ่งเป้าไปที่ลูกค้าและนักสะสมชั้นนำของเฟอร์รารี่ที่ภาคภูมิใจในความเป็นม้าลำพองโดยเฉพาะเท่านั้น
7 YEARS MAINTENANCE
มาตรฐานคุณภาพที่เหนือชั้นของเฟอร์รารี่และการมุ่งเน้นที่การบริการลูกค้า เป็นหัวใจสำคัญของโปรแกรมการบำรุงรักษาขยายระยะเวลาเพิ่มขึ้นเป็น 7 ปี สำหรับ Daytona SP3 โปรแกรมนี้ครอบคลุมการบำรุงรักษาตามปกติทั้งหมดในช่วง 7 ปีแรกของรถ การบำรุงรักษาตามกำหนดเวลานี้เป็นบริการพิเศษที่ช่วยให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่ารถของท่านจะมีประสิทธิภาพสูงสุดและมีความปลอดภัยตลอดเวลา บริการพิเศษนี้มีให้สำหรับผู้ที่ซื้อเฟอร์รารี่มือสองด้วยเช่นกัน
การบำรุงรักษาตามปกติ (ตามระยะทาง 20,000 กม. หรือปีละครั้ง ไม่จำกัดระยะทาง), อะไหล่แท้ และการตรวจเช็คอย่างพิถีพิถันโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกอบรมโดยตรงที่ศูนย์ฝึกอบรมของเฟอร์รารี่ในมาราเนลโล โดยใช้เครื่องมือวินิจฉัยที่ทันสมัยที่สุด บริการนี้ครอบคลุมทั่วโลก รวมถึงตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการทั้งหมด
โปรแกรมการบำรุงรักษานี้ จะขยายขอบเขตของบริการหลังการขายที่เสนอโดยเฟอร์รารี่ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่ต้องการรักษาประสิทธิภาพและความเป็นเลิศ อันเป็นเอกลักษณ์ของรถยนต์ทุกคันที่สร้างขึ้นจากโรงงานในมาราเนลโล
ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค – Daytona SP3
ระบบขับเคลื่อน
ประเภท V12 – 65°
ความจุกระบอกสูบ 6,496 ซีซี.
กระบอกสูบ x ช่วงชัก 94 มม. x 78 มม.
กำลังสูงสุด* 618 กิโลวัตต์ (840 แรงม้า) ที่ 9,250 รอบ/นาที
แรงบิดสูงสุด* 697 นิวตันเมตร ที่ 7,250 รอบ/นาที
รอบเครื่องยนต์สูงสุด 9,500 รอบ/นาที
อัตราส่วนกำลังอัด 13.6:1
มิติและน้ำหนัก
ความยาว 4,686 มม.
ความกว้าง 2,050 มม.
ความสูง 1,142 มม.
ความยาวฐานล้อ 2,651 มม.
ความกว้างฐานล้อหน้า 1,692 มม.
ความกวางฐานล้อหลัง 1,631 มม.
น้ำหนักรถเปล่า** 1,485 กก.
อัตราส่วน น้ำหนักรถเปล่า/กำลัง ** 1.77 กก./แรงม้า
การกระจายน้ำหนัก หน้า 44% / หลัง 56%
ความจุถังน้ำมันเชื้อเพลิง 86 ลิตร
ล้อและยาง
หน้า 265/30 ZR 20 J9.0
หลัง 345/30 ZR 21 J12.5
เบรก
หน้า 398 x 223 x 36 มม.
หลัง 380 x 253 x 34 มม.
เกียร์และระบบส่งกำลัง
ชุดเกียร์ F1 คลัตช์คู่, 7 จังหวะ
ระบบควบคุมรถด้วยอิเล็กทรอนิกส์
ESC; ABS e/EBD ประสิทธิภาพสูง; F1-Trac; e-Diff 3.0; SCM-Frs; SSC (Side Slip Control) 6.1
สมรรถนะ
ความเร็วสูงสุด >340 กม./ชม.
0-100 กม./ชม. 2.85 วินาที
0-200 กม./ชม. 7.4 วินาที
อัตราสิ้นเปลืองและการปล่อยมลพิษ
เป็นไปตามข้อกำหนดตามกฎหมาย
*กำลังเครื่องยนต์แสดงเป็นหน่วยกิโลวัตต์เพื่อให้สอดคล้องกับ International System of Units (SI) และหน่วย CV, วัดค่าโดยใช้เชื้องเพลิงออกเทน 98 ร่วมด้วยแรมแบบไดนามิกที่ให้กำลังเพิ่มเติมขึ้นอีก 5 แรงม้า
**ติดตั้งออปชั่นน้ำหนักเบา
ติดต่อโฆษณา
Project Manager (คุณแอม)
โทร. 089 533 5115
Email : autolifethailand@gmail.com
หรือ Inbox ได้ทาง Facebook Fanpage https://www.facebook.com/autolifethailand.tv