รายการแข่งขันชั้นนำอย่าง one-make cup ใช้เชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เกือบทั้งหมด
ไมเคิล สไตเนอร์ (Michael Steiner) สมาชิกคณะกรรมการฝ่ายวิจัยและพัฒนาของปอร์เช่ เอจี (Porsche AG) กล่าว “การแข่งขัน Supercup ยังเป็นเวทีสำคัญสำหรับเราในการพัฒนาเรื่อง eFuels และมอเตอร์สปอร์ตเป็นตัวขับเคลื่อนด้านนวัตกรรมมาโดยตลอด ซึ่ง ณ ปัจจุบันยังรวมถึงในแง่ของเชื้อเพลิงด้วย โครงการนี้เป็นอีกก้าวสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หากพิจารณาที่ห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมด (value chain) รถแข่ง Porsche Mobil 1 Supercup สามารถใช้เชื้อเพลิง eFuels ในการแข่งขันได้อย่างใกล้เคียงกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ เชื้อเพลิงชนิดใหม่นี้ถูกนำมาใช้ภายใต้เงื่อนไขที่ท้าทายที่สุด คือ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชะลอภาวะโลกร้อน และเรานำมาใช้กับวงการมอเตอร์สปอร์ตด้วย”
eFuels ผลิตจากไฮโดรเจนหมุนเวียนและคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ โดยใช้พลังงานหมุนเวียน ซึ่งจะสร้าง eMthanolol ขึ้นก่อน แล้วจึงนำไปแปรรูปเป็นน้ำมันดิบสังเคราะห์ โครงการ Haru Oni ตั้งอยู่ในปาตาโกเนีย ใช้พลังงานลมในการผลิต เนื่องจากบริเวณนี้มีลมแรงและราคาถูก ปัจจุบันก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาจากแหล่งชีวภาพ แต่ในอนาคตจะถูกสกัดโดยตรงจากบรรยากาศด้วยวิธีการจับอากาศโดยตรง (DAC) ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปอร์เช่ร่วมมือกับ Volkswagen Group บริษัท HIF Global ซึ่งเป็นพันธมิตรด้าน eFuels และ MAN Energy Solutions เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี DAC ในเชิงพาณิชย์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการแสดงให้เห็นว่ากระบวนการนี้สามารถนำไปใช้ในทางอุตสาหกรรมได้
บาร์บาร่า เฟรงเคิล (Barbara Frenkel) สมาชิกคณะกรรมการบริหารฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างของปอร์เช่ (Porsche) กล่าว “ในมุมมองของเรา กระบวนการดักจับอากาศโดยตรง (DAC) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สำคัญสำหรับอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการสกัดพลังงาน คาร์บอนไดออกไซด์บริสุทธิ์สามารถนำมาใช้สำหรับกระบวนการทางอุตสาหกรรมหรือเก็บไว้ถาวรในดินได้ eFuels ที่ผลิตในลักษณะนี้สามารถช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในวงการมอเตอร์สปอร์ตได้ เราจะสนับสนุน HIF ซึ่งเป็นพันธมิตรของเราต่อไป ในการเพิ่มปริมาณ eFuels ที่มีอยู่”
eFuel (หรือเชื้อเพลิงไฟฟ้า) หมายถึงเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่ผลิตโดยใช้พลังงานหมุนเวียนและไม่ต้องใช้ทรัพยากรฟอสซิล เชื้อเพลิงสังเคราะห์เหล่านี้สามารถเสริมการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับยานพาหนะที่มีอยู่ในปัจจุบัน ปอร์เช่มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยี eFuels โดยได้ลงทุนไปแล้วกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเข้าถือหุ้นมูลค่า 75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในบริษัท HIF Global LLC เมื่อเดือนเมษายน 2022 บริษัทแห่งนี้วางแผน ก่อสร้าง และดำเนินกิจการโรงงานผลิต eFuels ในประเทศชิลี ประเทศอุรุกวัย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศออสเตรเลีย
ในเดือนธันวาคม 2022 HIF Global เริ่มการผลิตเชื้อเพลิงสังเคราะห์ในระดับอุตสาหกรรมที่โรงงานนำร่อง Haru Oni ในเมืองปุนตา อาเรนัส ทางตอนใต้ของประเทศชิลี พื้นที่นี้มีสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ในภูมิภาค Magallanes ของชิลี กังหันลมสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าที่เยอรมนีหลายเท่า เนื่องจากมีลมแรงและลมพัดตลอดทั้งปี เมืองปุนตา อาเรนัสยังอยู่ใกล้กับช่องแคบ Magellan อีกด้วย ซึ่งทำให้สามารถขนส่ง eFuels สังเคราะห์ผ่านกระบวนการที่มีอยู่ได้เหมือนกับเชื้อเพลิงทั่วไป
ปอร์เช่ เข้าร่วมการแข่งขันรายการ FIA World Endurance Championship (WEC) และรายการ North American IMSA WeatherTech SportsCar Championship ด้วยรถต้นแบบไฮบริด 963 เช่นเดียวกับในฤดูกาล Supercup ครั้งก่อนๆ ทั้ง 2 รายการ มีการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูงที่ใช้เอทานอลในการแข่งขันชิงแชมป์ ตัวอย่างเช่น ใน WEC พวกเขาใช้ของเหลวชีวภาพจากการเพาะปลูกองุ่นเพื่อการทำไวน์
วิเคราะห์ เจาะลึก ทุกข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา กับผม นิธิ ท้วมประถม
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสาร ข่าวรถยนต์ รถใหม่ สกู๊ปพิเศษ ลองขับ อย่าลืมติดตามเรา ช่องยูทูป – auto lifethailand tv
ติดต่อโฆษณา
Project Manager (คุณแอม)
โทร. 089 533 5115
Email : autolifethailand@gmail.com
หรือ Inbox ได้ทาง Facebook Fanpage https://www.facebook.com/autolifethailand.tv